ค้นเจอ 755 รายการ

ขี้หดตดหาย

หมายถึง(ปาก) ว. ใช้เป็นสำนวนประกอบคำ กลัว ว่า กลัวจนขี้หดตดหาย หมายความว่า กลัวมาก.

ขึ้น

หมายถึงว. ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคำประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคำที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.

เข้าเครื่อง

หมายถึงก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสำคัญ ๆ; คำพูดสำหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้าตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียงเข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.

ค่อย

หมายถึงว. คำนำหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.

จงกลนี

หมายถึง[-กนละนี] น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอกแล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). (พจน. ๒๔๙๓).

จรรยา

หมายถึง[จัน-] น. ความประพฤติ, กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ เช่น จรรยาแพทย์, นิยมใช้ในทางดี เช่น มีจรรยา หมายความว่า มีความประพฤติที่ดี. (ส. จรฺยา; ป. จริยา).

จาตุร,จาตุร-

หมายถึง[จาตุระ-] (แบบ) ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.

เชื่อม

หมายถึงก. ทำของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยวให้ละลาย แล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย, เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือเคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม; ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.

ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้

หมายถึง(สำ) ก. ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย, เป็นคำเปรียบเทียบ หมายความว่า ตกอยู่ที่ใดก็ไม่สูญหาย เช่น ของหลวงตกนํ้าไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้.

ตาย

หมายถึงว. คำประกอบท้ายประโยคหรือหน้าประโยค หมายความว่า แย่, เต็มที, ยิ่งนัก, เช่น ร้อนจะตาย ตายละทีนี้, คำเปล่งเสียงแสดงความตกใจหรือประหลาดใจเป็นต้น เช่น อุ๊ยตาย ตายแล้ว.

ตำลึง

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๔ ตำลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง, ตมฺลึง).

มาจาก2คำคือ 予測+実績=予実 หมายความว่า เป็นการเปรียบเทียบผลการทำงานว่า Plan กับ Actual มีข้อแตกต่างกันหรือไม่

ภาษาญี่ปุ่น予実

คำอ่านภาษาญี่ปุ่นよじつ

n