ค้นเจอ 175 รายการ

กฎ

หมายถึงปรากฏ, สังกฏ อย่างว่า สังกฏว่ามันมา แต่บ่เห็นมา จักมันไปใส (บ.) ผากฏ ก็ว่า อย่างว่า ผากฏแก้วสุมุณฑาทรงฮูปโฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์).

จอมเมือง

หมายถึงนางสุมณฑา นางสุมณฑา เรียก จอมเมือง อย่างว่า จอมเมืองเจ้าใจฮมฮักไพร่ สนุกอยูหลิ้นไพรกว้างม่วนระงม (สังข์).

เสียฤกษ์

หมายถึงก. ทำไม่ได้ในระหว่างเวลามงคลที่กำหนดไว้ (ใช้ในทางโหราศาสตร์) เช่น เจ้าสาวเป็นลมหมดสติในระหว่างพิธีรดน้ำสังข์ เลยทำให้เสียฤกษ์; ไม่ทันเวลาที่นัดหมาย เช่น นัดกันจะไปธุระแต่เขามาไม่ทัน เสียฤกษ์หมด.

กัมพู

หมายถึง(แบบ) น. หอยสังข์; ทอง เช่น กัมพูหุ้มพู่พรรณจามรี. (บุณโณวาท), ทองสุคนธ์ปนสุวรรณ์กัมพู. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ) เขียนเป็น กำพู กำภู ก็มี. (ป., ส. กมฺพุ).

ไท

หมายถึงพวก หมู่ เหล่า อย่างว่า จงใจหอมไพร่ไททังค้าย (สังข์) ไทไกลนี้เจงเวงน้ำแจ่วข่า บ่ท่อใสติ้งหลิ้งไทใกล้น้ำแจ่วขิง (ภาษิต).

กระจาบ

หมายถึงชื่อนกตัวเล็กๆชนิดหนึ่ง ขนาดนกกระจอก เรียก นกกระจาบ นกจาบ ก็ว่า อย่างว่า ฝูงนั้นกะทาทองไท้ยูงขัวเขาข่อ จิบจาบจ้อยคณาขุ้มขาบเขียว (สังข์).

อัษฎมงคล,อัษฏมงคล

หมายถึงน. สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ อย่าง นิยมดังนี้ ๑. กรอบหน้า ๒. คทา ๓. สังข์ ๔. จักร ๕. ธง ๓ ชาย ๖. ขอช้าง ๗. โคเผือก ๘. หม้อนํ้า. (ส.).

มโนมัย

หมายถึงว. สำเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (กลอน) น. ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูกมโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).

ไป

หมายถึงเคลื่อนไป เดินไป อย่างว่า ให้แต่งช้างม้ามิ่งพลแพน ญิงชายในนครขวางป่าวปุนไปพร้อม คนการใช้พอแสนคาดเครื่อง แผ้วแผ่นเท้าทางกว้างฮาบงาม (สังข์).

ฮ่วม

หมายถึงร่วม สมสู่อยู่ร่วมกัน เรียก ฮ่วมกัน อย่างว่า นับแต่กุมภัณฑ์ได้จอมพระนางมาฮ่วม หลายขวบเข้าระดูได้แปดปีนั้นแล้ว สองกล่อมกลิ้งรัตนาสน์เฮียงฮส เสนหาฮักลวดลืมเมืองบ้าน (สังข์).

วิ่น

หมายถึงว. ลักษณะอาการที่หลุด ขาด หรือลุ่ยออกกะรุ่งกะริ่ง เช่น จมูกแหว่งหูวิ่นเวทนา อนิจจานิจจาเป็นน่ากลัว. (สังข์ทอง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ขาด เป็น ขาดวิ่น เช่น เสื้อผ้าขาดวิ่น.

กระจิบ

หมายถึงชื่อนกตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่ง ร้องเสียงดังจิ๊บๆ เรียก นกกระจิบ นกจิบ ก็ว่า อย่างว่า อุมลัวเค้ากาในแกกระจอก จิบก่างกี้เจียผ้ายกะแดบดิน (สังข์).