ค้นเจอ 95 รายการ

ตยาคี

หมายถึง[ตะยา-] น. ผู้บริจาค, วีรบุรุษ, นักพรต, เช่น พระศรีศรีสรศาสดา มีพระมหิมา นุภาพพ้นตยาคี. (สมุทรโฆษ). (ส.).

กัลหาย

หมายถึง[กัน-] ก. กรรหาย เช่น ชายใดเดอรร้อนรนนจวนจวบสร้อยสรสวรก็หายกัลหายหื่นหรรษ์. (ม. คำหลวง จุลพน).

สโมสร

หมายถึง[สะโมสอน] น. ที่สำหรับร่วมประชุมคบหากัน เช่น สโมสรข้าราชการ สโมสรทหารบก. ก. ร่วมชุมนุมกัน เช่น ไปร่วมสโมสร. (ป. สโมสรณ; ส. สมวสรณ).

Post

แปลว่าเสา, จัดใบเลื่อย [ป่าไม้]; สลักจูน [ไฟฟ้าสื่อสาร]; ประกาศ [คอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีสารสรเทศ]; เสา[ช่างก่อสร้าง]; เสา, หลัก, ดั้ง [โยธา]

อาราธนาศีล

หมายถึงก. ขอให้พระภิกษุหรือสามเณรให้ไตรสรณคมณ์และศีล โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห ... สีลานิ ยาจาม.

กำสรวล

หมายถึง[-สวน] (แบบ) ก. โศกเศร้า, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรดสงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (โบ กำสรวญ).

สารท

หมายถึง[สาด] น. เทศกาลทำบุญในวันสิ้นเดือน ๑๐ โดยนำพืชพรรณธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวมาปรุงเป็นข้าวทิพย์และข้าวมธุปายาสถวายพระสงฆ์. (ป. สรท, สารท; ส. ศารท).

สรัสวดี

หมายถึง[สะรัดสะวะดี] น. เทวีองค์หนึ่งในลัทธิศักติของศาสนาฮินดู เป็นชายาของพระพรหม ถือว่าเป็นเทวีแห่งศิลปวิทยา มีหลายชื่อ เช่น ภารตี พราหมี สารทา, ไทยใช้ว่า สุรัสวดี ก็มี. (ส. สรสฺวตี).

ค้าน

หมายถึงก. แย้งกัน เช่น ข้อความตอนหน้ากับตอนหลังค้านกัน, กล่าวแย้งไม่เห็นด้วย; (โบ; กลอน) หัก, พัง, ทำลาย, เช่น เครื่องบนกระบาลผุค้าน. (คำฤษฎี), สยงสรเทือนพ้ยงค้าน ค่นเมรุ. (ยวนพ่าย). ว. ที่ไม่เห็นด้วย, ที่ตรงกันข้าม, เช่น ฝ่ายค้าน.

สรเหนาะ,สระเหนาะ

หมายถึง[สฺระเหฺนาะ] (กลอน) ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง).

อง

หมายถึงน. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกายชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).

สระ

หมายถึง[สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).