ค้นเจอ 207 รายการ

ปฐมบุรุษ

หมายถึง[ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลีหมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.

ข้อย

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คำหลวง กุมาร).

1ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ 2 วงศ์ตระกูลสูงศักดิ์ 3 ใช้เป็นสรรพนามหมายถึงบุคคลที่อยู่ภายในขอบเขตใดขอบเขตหนึ่ง

ภาษาจีน大家

ลื้อ

หมายถึง(ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกันหรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (จ. ลื่อ ว่า คำใช้เรียกบุรุษที่ ๒).

เกล้ากระผม

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ออเจ้า

หมายถึง(โบ) ส. คำใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย เช่น ทชีก็ปรับทุกข์ร้อนทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ยออเจ้าเราค่อยมั่งมีขึ้นถึงเพียงนี้มีเสียกว่าออเจ้า. (ม. คำหลวง ชูชก), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

noun classifier

แปลว่าคำลักษณนาม

N

ใต้ฝ่าละอองพระบาท

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้กับพระอัครมเหสีที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีลงมาจนถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระบรมราชกุมารี, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

อันโยนย,อันโยนย-,อันโยนยะ

หมายถึง[-โยนยะ] (โบ) ว. “กันและกัน”. (ส. อนฺโยนฺย; ป. อญฺมญฺ); ในไวยากรณ์ใช้เรียกสรรพนามพวกหนึ่ง ซึ่งแทนชื่อคน สัตว์ หรือสิ่งของที่รวมกัน ได้แก่คำว่า “กัน” เช่น คนตีกัน เรียกว่า อันโยนยสรรพนาม.

มัน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง สำหรับผู้ใหญ่เรียกผู้น้อย มีเด็กเป็นต้นตามสถานะที่ควร สำหรับเรียกผู้อื่นอย่างไม่ยกย่อง และสำหรับเรียกสัตว์หรือสิ่งอื่นทั่ว ๆ ไปตามที่ควร, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

เรา

หมายถึงสรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.

เจ้าประคุณ

หมายถึงน. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมาจาก เจ้าพระคุณ).