ค้นเจอ 166 รายการ

อัคร,อัคร-

หมายถึง[อักคฺระ-] ว. เลิศ, ยอด, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส, เช่น อัครมเหสี อัครมหาเสนาบดี. (ส.; ป. อคฺค).

สูรย,สูรย-

หมายถึง[สูระยะ-] น. พระอาทิตย์, ตะวัน, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ส.; ป. สุริย).

เมธ

หมายถึง[เมด] น. การเซ่นสรวง, การบูชายัญ, มักใช้เป็นส่วนหลังสมาส เช่น อัศวเมธ. (ป., ส.).

ปร,ปร-

หมายถึง[ปะระ-, ปอระ-] ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. (ป.).

ไตร

หมายถึง[ไตฺร] ว. สาม, คำสำหรับนำหน้าสมาสอย่างเดียว (บางทีใช้ว่า ตรี ก็ได้) เช่น ไตรลักษณ์ ไตรทวาร, แม้จะพูดไว้ท้ายคำบ้าง เช่น ผ้าไตร หอไตร ก็เพราะละท้ายสมาสเสีย คือ ผ้าไตรจีวร หอไตรปิฎก. (ส.).

มหา

หมายถึงว. ใหญ่, ยิ่งใหญ่, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส บางทีก็ลดรูปเป็น มห เช่น มหรรณพ มหัทธนะ มหัศจรรย์.

ษัณ

หมายถึงว. หก. (ใช้ในคำสมาส เมื่อนำหน้าตัว ณ ม ย). (ส.; ป. ฉ).

มนัส,มนัส-

หมายถึง[มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน). (ส.).

อานนท์,อานนท์,อานันท์

หมายถึงน. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น จิตกานนท์. (ป., ส.).

อินธน์

หมายถึงน. การจุดไฟ; เชื้อไฟ, ไม้สำหรับติดไฟ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นิรินธน์ ว่า ไม่มีเชื้อไฟ. (ป., ส.).

กร

หมายถึง1.) มือ 2.) ผู้ทำ ใช้ประกอบเป็นส่วนหลังของสมาส เช่นกรรมกร ผู้ทำการงาน (ป.).

การ,-การ,-การ

หมายถึงคำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.