ค้นเจอ 25 รายการ

ไตรจีวร

หมายถึง[-จีวอน] น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร หรือ ไตร เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร.

บริขาร

หมายถึง[บอริขาน] น. เครื่องใช้สอยของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มี ๘ อย่าง คือ สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ เข็ม ประคดเอว กระบอก กรองนํ้า (ธมกรก) เรียกว่า อัฐบริขาร, สมณบริขาร ก็เรียก. (ป. ปริกฺขาร).

ผ้าไตร

หมายถึงน. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), ไตร ก็เรียก เช่น ไตรครอง ดอกไม้คลุมไตร, เรียกเต็มว่า ผ้าไตรจีวร.

ตรีจีวร

หมายถึงน. ผ้า ๓ ผืน หมายถึง ผ้าของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), แต่โดยมากใช้ไตรจีวร เรียกสั้น ๆ ว่า ผ้าไตร. (ส. ตฺริจีวร; ป. ติจีวร).

three garments of a Buddhist monk (robe,sarong, extra robe)

แปลว่าไตรจีวร

N

ปัจจุทธรณ์

หมายถึง[ปัดจุดทอน] (แบบ) น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).

อันตรวาสก

หมายถึง[-วาสก] น. ผ้าสบง. (ป.).

สุ

หมายถึงก. ซักสบงจีวรวิธีหนึ่งโดยใช้นํ้าร้อนหรือมะกรูดมะนาวเป็นต้น, มักใช้ว่า ซักสุ.

บริภัณฑ์

หมายถึง[บอริพัน] น. ผ้าทาบประกอบริมสบงหรือจีวรด้านกว้าง.

ระเดียง

หมายถึงน. เรียกสายสำหรับตากผ้าสบงจีวรเป็นต้นของพระภิกษุสามเณรว่า สายระเดียง.

ไตรจีวร

หมายถึงผ้า 3 ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (ผ้าสบง) อุตราสงค์ (ผ้าจีวร) สังฆาฏิ (ผ้าทาบ).

ปากกบ

หมายถึงน. รอยมุมของสิ่งที่มีรูปสี่เหลี่ยมประกบกันเป็นรอยแบ่งมุมฉากออกเป็น ๒ มุม เช่น รอยมุมสบง จีวร กรอบรูป กรอบหน้าต่าง.