ค้นเจอ 183 รายการ

เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น

ผู้มีปรีชา มั่นคงดีแล้วในศีล ย่อมได้รับชื่อเสียงในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมดีใจในสวรรค์ ชื่อว่าย่อมดีใจในที่ทั้งปวง

คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และ ความเสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีลธรรม ได้รับชื่อเสียง และ ความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ

ใคร่ครวญติ คนฉลาดจะประพฤติไม่ขาด ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ประดุจแท่งทองชมพูนุท

ผู้มีปัญญา เมื่อปรารถนาสุข 3 อย่าง คือ ความสรรเสริญ ความได้ทรัพย์ และ ความละไปบันเทิงในสวรรค์ ก็พึงรักษาศีล

ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และ การสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ

ผู้ใดในโลกนี้ สำรวมทางกาย วาจา และ ใจ ไม่ทำบาปอะไร และ ไม่พูดพล่อย เพราะเหตุแห่งตน , ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีศีล

สัตบุรุษ

หมายถึง[สัดบุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คนดีน่านับถือ มีคุณธรรม ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม. (ส. สตฺปุรุษ; ป. สปฺปุริส).

เวทมนต์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นำสุขมาให้ในสัมปรายภพไม่ได้, ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนำสุขมาให้ในสัมปรายภพได้

ความอดทนเป็นประธาน เป็นเหตุแห่งคุณ คือศีล และ สมาธิ, กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะความอดทนเท่านั้น

สังวร

หมายถึง[-วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สำรวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวรไว้ อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).

ผู้มีศรัทธา มีปัญญา ตั้งในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล แม้คนเดียว ย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติ และ พวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธา