ค้นเจอ 1,113 รายการ

บังสุกุล

หมายถึงน. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบนด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปำสุกูล).

บังอูร

หมายถึง[บังอูน] ก. ตก, ตกลง; ยอบลง. (ข. บงฺอุร ว่า ฝนตก).

ปรก

หมายถึง[ปฺรก] น. เรียกผู้นั่งภาวนาในพิธีปลุกเสก เช่น ในพิธีพุทธาภิเษก ว่า คณะปรก.

ประคุณ

หมายถึง(แบบ) ก. คล่องแคล่ว, ชำนาญ. (ส. ปฺรคุณ ว่า ตรง, สัตย์ซื่อ, ซื่อตรง; ป. ปคุณ).

ประจาน

หมายถึงก. ประกาศเปิดเผยความชั่วให้รู้ทั่วกันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น พูดประจาน ตัดหัวเสียบประจาน พาตระเวนประจานทั่วเมือง. (ข. ผจาล ว่า ทำให้เข็ดหลาบ).

ประดาษ

หมายถึงว. ตกต่ำ เช่น โอ้ครั้งนี้มิได้เห็นเช่นฉลอง เพราะตัวต้องตกประดาษวาสนา. (นิ. ภูเขาทอง). (ข. ผฺฎาส ว่า ผิดระเบียบ นอกรีตนอกรอย).

ปลก

หมายถึง[ปะหฺลก] ว. อาการที่ยกมือไหว้ถี่ผงก ๆ (ใช้แก่กริยาไหว้ ว่า ไหว้ปลก ๆ).

ปั้นหยา

หมายถึง[-หฺยา] น. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีหลังคาเอนเข้าหาอกไก่ทั้ง ๔ ด้าน ไม่มีหน้าจั่ว เรียกว่า เรือนปั้นหยา. (เปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่ทำเป็นหัตถ์ของเจ้าเซ็น ประดิษฐานอยู่ในกะดีซึ่งมีลักษณะหลังคาเช่นนั้น).

เปรต,เปรต-

หมายถึง[เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่างสูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้องเสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คำเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาสคนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือในทำนองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).

เปียก

หมายถึงก. กวนสิ่งเช่นข้าวหรือแป้งเป็นต้นบนไฟให้สุก เช่น เปียกข้าวเหนียว เปียกสาคู. ว. เรียกข้าวที่ต้มและกวนให้เละ หรือข้าวที่ต้มกับน้ำกะทิเจือเกลือเล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ ว่า ข้าวเปียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แป้งเปียก สาคูเปียก, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว ว่า ขนมเปียก.

แป

หมายถึงน. ส่วนหนึ่งของโครงสร้างหลังคา วางอยู่บนโครงสร้างอื่น ๆ ได้แก่ จันทัน ปลายเต้า เสาตุ๊กตา ปลายขื่อ และปลายขื่อประธาน ทำหน้าที่รับกลอนหรือรับเครื่องมุงโดยตรง. ว. เรียกด้านเรือนตามยาวว่า ด้านแป; เรียกมือที่พิการ นิ้วกำเข้าไม่ได้ ว่า มือแป, เรียกตีนที่พิการ นิ้วงอเข้าไม่ได้ ต้องเดินตะแคง ๆ ว่า ตีนแป; ย่อย, แบน, ในคำว่า เงินแป คือ เงินเหรียญที่เป็นเงินย่อย. (แป ไทยขาวว่า ย่อย, แตกออก). (ดู เงินแป).

แปลง

หมายถึง[แปฺลง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แผลง เช่น แปลงศร ว่า แผลงศร.