ค้นเจอ 1,113 รายการ

ขมเป็นยา

หมายถึงคำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด มักใช้เข้าคู่กับ หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา

กมล-

หมายถึง[กะมะละ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).

ว่าบาป

หมายถึงแต่จะว่าไปแล้วก็..., ว่าไป, ทำเป็นเล่นไป มักใช้เพื่อ contrast กับประโยคก่อนหน้า

ทะนาน

หมายถึงน. เครื่องตวงอย่างหนึ่งทำด้วยกะโหลกมะพร้าวเป็นต้น; ชื่อมาตราตวงโบราณ ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง, มาตราตวงของไทยโบราณเท่ากับ ๘ ฟายมือ. (เทียบ ส. ทินาร ว่า ตาชั่ง).

ทัป

หมายถึงน. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, ทรรป ก็ใช้ เช่น ขวนทรรป ว่า ใฝ่จองหอง. (ม. คำหลวง สักบรรพ). (ป. ทปฺป; ส. ทรฺป).

ท่ามกลาง

หมายถึงน. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน. ว. ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ท่ามกลางอันตราย. (ไทยเดิม ท่าม ว่า ที่ เช่น ท่ามเหนือ ท่ามใต้).

ทำงน

หมายถึงก. ห่วงใย, ยุ่งใจ. น. ภาระ. (ข. ทํงน่ ว่า หนัก).

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

เที่ยว

หมายถึงน. เรียกการไปยังที่ซึ่งกำหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอกอาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว.

ธนบดี

หมายถึง[ทะนะบอ-] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).

นิคาหก,นิคาหก-

หมายถึง[-หก, -หะกะ-] ว. ผู้ใช้วาจาหยาบ เช่น ผู้เป็นยาจกทลิทเชษฐชาติเชื้อนิคาหกพราหมณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. นิคฺคาหก ว่า ผู้ข่มขู่).

ใน

หมายถึงบ. ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง; แห่ง, ของ, เช่น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (ข. ใน ว่า แห่ง, ของ).