ค้นเจอ 23 รายการ

การที่บุคคลจะทำการสิ่งใด ให้สำเร็จผลได้มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองเป็นสำคัญ ข้อนี้อธิบายได้ว่า คนเราแต่ละคนย่อมมีความรู้ ความสามารถ และความถนัด แตกต่างกันไป สูงต่ำไม่เท่ากัน ดังนั้น เมื่อจะทำการสิ่งใดจึงควรรู้จักประมาณตน

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน

การปฏิบัติราชการนั้น นอกจากมุ่งกระทำเพื่อให้งานสำเร็จโดยเร็ว และมีประสิทธิภาพแล้ว ยังจะต้องกระทำด้วยสติรู้ตัวและปัญญารู้คิด ว่าสิ่งใดเป็นความเจริญ สิ่งใดเป็นความเสื่อม อะไรเป็นสิ่งที่ต้องทำ อะไรเป็นสิ่งที่ต้องละเว้นหรือกำจัด ผลที่เกิดขึ้นจึงจะเป็นประโยชน์ที่แท้และยั่งยืน ทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน

ผู้ที่ทราบตระหนักว่าตนศึกษาเพื่ออะไร แล้วนำความรู้ ความคิด และความชำนาญ ไปปฏิบัติให้ถูกจุดประสงค์ที่แท้จริงโดยเต็มกำลังความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อการสร้างสรรค์ เท่านั้นจึงจะหวังได้ว่าจะสามารถสร้างความเจริญความเจริญผาสุกและความวัฒนาถาวรในชาติให้เกิดมีขึ้นโดยสมบูรณ์ ทุกคนจึงควรจะได้ศึกษา และปฏิบัติการทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยสติปัญญา และด้วยความรู้ตัว ระวังตัวโดยสม่ำเสมอทุกเวลา

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน

ความคิดนั้นสำคัญมาก ถือว่าได้เป็นแม่บทใหญ่ของคำพูดและการกระทำทั้งปวง กล่าวคือ ถ้าคนเราคิดดี คิดถูกต้อง ทั้งตามหลักวิชาการและคุณธรรม คำพูดและการกระทำก็เป็นไปในทางที่ดีที่เจริญ แต่ถ้าคิดไม่ดีไม่ถูกต้อง คำพูดและการกระทำก็อาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียหาย ทั้งแก่ตัวเองและส่วนรวมได้

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน

ความรู้สึกระลึกได้ว่าอะไรเป็นอะไร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า 'สติ' นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้บุคคลหยุดคิดพิจารณาก่อนที่จะทำ จะพูด และแม้แต่จะคิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าสิ่งนั้นดีหรือชั่ว มีคุณมีประโยชน์หรือเสียหาย ควรกระทำหรือควรงดเว้นอย่างไร เมื่อยั้งคิดได้ ก็จะช่วยให้พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างอย่างละเอียดประณีต และสามารถกลั่นกรองเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ไม่เป็นประโยชน์ออกได้หมด คงเหลือแต่เนื้อแท้ที่ถูกต้องและเป็นธรรม

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน

องค

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

ทุกคนจำเป็นต้องหมั่นใช้ปัญญา พิจารณาการกระทำของตนเองให้รอบคอบอยู่เสมอ ระมัดระวังทำการทุกอย่างด้วยเหตุผล ด้วยความมีสติ และด้วยความรู้ตัว เพื่อเอาชนะความชั่วร้ายทั้งมวลให้ได้โดยตลอด และสามารถก้าวไปถึงความสำเร็จที่แท้จริงทั้งในการงานและการครองชีวิต

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน

งานใด ๆ ก็ตาม ถ้าไม่ทำด้วยใจและด้วยอาการที่สงบสำรวม ความรีบร้อน ฟุ้งซ่าน หลงผิด และอคติทุก ๆ อย่าง ก็จะเข้ามาปิดบังหนทางที่จะนำปัญญามาใช้ ให้เกิดประสิทธิภาพจนหมดสิ้น และเมื่อนำปัญญามาใช้ไม่ได้ ก็ยากที่จะทำงานให้ถูกต้องได้ ความผิดพลาดและความเสียหายนานาประการก็อยู่ในวิสัยที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน

องค์

หมายถึง[อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

องค-

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

ขอให้พยายามใช้ความคิดวิทยาการพร้อมทั้งความฉลาด ความรอบคอบ ความมีสติรู้ตัว ในการปฏิบัติงานทุกอย่างในท้องถิ่นทุกแห่ง การใช้ปัญญาความรอบคอบ และความหนักแน่นของท่าน จะช่วยให้ภารกิจทุกประการลุล่วงไปด้วยดี ประสบผลสำเร็จที่มุ่งหมายไว้ทุก ๆ อย่าง

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน