ค้นเจอ 83 รายการ

กระชิด

หมายถึงว. ชิดทีเดียว เช่น ว่องไวไล่กระชิดติดพัน. (รามเกียรติ์ ร. ๒).

กระดาก

หมายถึง(กลอน) ก. กระเดาะ, กระดก, เช่น สิ้นทั้งพันปากกระดากลิ้น, สิบปากกระดากลิ้นเคี้ยวฟัน. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (อะหม ตาก ว่า กระเดาะปาก).

กระหยับ

หมายถึง(กลอน) ก. ขยับ เช่น มือถือธนูกระหยับลั่น. (รามเกียรติ์ ร. ๑; ไกรทอง; สรรพสิทธิ์). (แผลงมาจาก ขยับ).

กระแหย่ง

หมายถึง[-แหฺย่ง] ว. อาการปีนขึ้นอย่างพลั้ง ๆ พลาด ๆ. ก. คะยั้นคะยอ เช่น มาหยักเหยาเซ้าซี้กระแหย่งชาย. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

กลาย

หมายถึง[กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านชองตนกดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.

กัมพู

หมายถึง(แบบ) น. หอยสังข์; ทอง เช่น กัมพูหุ้มพู่พรรณจามรี. (บุณโณวาท), ทองสุคนธ์ปนสุวรรณ์กัมพู. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ) เขียนเป็น กำพู กำภู ก็มี. (ป., ส. กมฺพุ).

เกียรติ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

เกียรติ์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

แบกหน้า

หมายถึงจำใจกลับมาแสดงตัวหรือติดต่อกับผู้ที่ตนเคยทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสมมาก่อนอีก เช่น นี่แบกหน้ากลับมาหากู. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).

เสียกล

หมายถึงก. พลาดไปเพราะรู้ไม่ทันเล่ห์กลของเขา เช่น บัดนี้สุครีพฤทธิรณ เสียกลกุมภัณฑ์ยักษา. (รามเกียรติ์).

อีเห็น

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับชะมดและพังพอน ลำตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทำให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบทประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

ทองปราย

หมายถึง(โบ) น. ปืนโบราณชนิดหนึ่ง เช่น ล้วนถือทองปรายทุกคน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

กระเซอ

หมายถึงว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ. (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.