ค้นเจอ 83 รายการ

กรรตุสัญญา

หมายถึง[กัดตุ-] น. นามที่เป็นคำร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺา = นาม, ชื่อ).

กระบี่

หมายถึง(กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ).

ไวกูณฐ์

หมายถึงน. ที่ประทับพระนารายณ์ เช่น ผู้สิง ณ ไวกูณฐ์. (มัทนะ). (ส.); (โบ) พระนารายณ์ที่แบ่งภาคลงมา เช่น ซึ่งจะให้นารายณ์ลงไป ก็ต้องในไวกูณฐ์อวตาร. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

พักร

หมายถึง[พัก] (โหร) ก. ย้อน, ถอยหลัง, เช่น ดาวนพเคราะห์เดินย้อนราศีเรียกว่า พักร. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส. วกฺร).

กระษิร

หมายถึง[-สิน, -สิระ] (โบ; แผลงมาจาก ส. กฺษิร) น. นํ้านม เช่น มาจากวารินกระษิรสมุทร. (รามเกียรติ์ ร. ๒), กระษิรสินธุสาคร. (สรรพสิทธิ์).

กัลปพฤกษ์

หมายถึง[กันละปะพฺรึก] น. ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสำเร็จตามความปรารถนา; เรียกต้นไม้ที่ทำขึ้นเนื่องในการทิ้งทานในงานเมรุหลวง และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้นว่าต้นกัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้นว่า ลูกกัลปพฤกษ์; (โบ) ใช้ว่า กำมพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจำกำมพฤกษ์บังคมไหว้. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส.; ป. กปฺปรุกฺข).

เกราะ

หมายถึง[เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).

เกลาะ

หมายถึง[เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

ขี้จาบ

หมายถึง(ปาก) ว. หยาบคาย เช่น ชาติอ้ายขี้จาบปราบเพื่อนบ้าน. (รามเกียรติ์ พลเสพย์).

ดัดดั้น

หมายถึงก. ตัดทางไป, ลัดทางไป, เช่น ก็รีบลัดดัดดั้นตามไป. (อิเหนา), ดั้นดัด ก็ใช้ เช่น ดั้นดัดลัดพงดงดาน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

มณโฑ

หมายถึงมเหสีของทศกัณฐ์, แม่ของนาสีดา

นักงาน

หมายถึง(กลอน; ตัดมาจาก พนักงาน) น. หน้าที่ เช่น อันการสงครามครั้งนี้ ไว้นักงานพี่จะช่วยหัก. (รามเกียรติ์ ร. ๑).