ค้นเจอ 51 รายการ

ทุ

หมายถึงว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป.; ส. เดิมเป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคำอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและสันสกฤต กำหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะคำหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลาง ก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคำหลังเป็นอักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคำ ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.

ตื่น

หมายถึง1.)ตกใจ 2.)ฟื้นจากหลับ เรียก ตื่น อย่างว่า ให้ตื่นแต่เดิก ให้เศิกแต่หนุ่ม ให้ตื่นเดิกคือกา ให้หากินคือไก่ ตื่นแต่เช้ากินข้าวกับปลา ตื่นสวยกินขวยขี้ไก่โป่ (ภาษิต).

เจ้าเมือง

หมายถึงเจ้าผู้ปกครองเมืองเรียก เจ้าเมือง อย่างว่า งามแต่เข้าเฮ็ดนาแคมเหมือง งามแต่เมืองมีเจ้าผู้หนึ่ง (ภาษิต) เจ้าเมืองดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ้ เจ้าเมืองดีเห็นแก่ไพร่แสนเมือง (ภาษิต).

ช้า

หมายถึงนาน ไม่เร็ว ไม่ไว การทำโดยอาการเชื่องช้า เรียก ช้า อย่างว่า ช้าเป็นการนานเป็นคุณ (ภาษิต).

พ่อไฮ่

หมายถึงชายผู้ทำไร่ปลูกข้าว ปลูกต้นไม้ ปลูกผัก เลี้ยงวัวควายเป็ดไก่ เรียก พ่อไฮ่ อย่างว่า เฮ็ดนาอย่าเสียไฮ่ เลี้ยงไก่อย่าเสียฮัง (ภาษิต).

ไฮ่

หมายถึงไร่ ที่สำหรับปลูกพืชในป่าดง เรียก ไฮ่ อย่างว่า เฮ็ดนาอย่าเสียไฮ่ เลี้ยงไก่อย่าเสียฮัง (ภาาิต) หมายไฮ่ให้สุดชั่วแสงตา หมายนาให้สุดชั่วเสียงฮ้อง (ภาษิต) เป็นดั่งแสนส่ำห้อยน้ำผ่าเขาเขียว ไหลมาโฮมวังขวางสู่คุงคาเสี้ยง ชายหนึ่งทำนาแล้วทวนเทียวทำไฮ่ ฝังลูกเต้าแตงพร้อมถั่วงา (ฮุ่ง).

พุทธภาษิต

ภาษาจีน佛言

ขี้ถี่

หมายถึงขี้เหนียว,หวงของ ตระหนี่ คนตระหนี่เรียก ขี้ถี่ อยากได้ของจากคนตระหนี่ต้องขอนาน อย่างว่า ขี้ถี่ขอคน (ภาษิต)

เคียว

หมายถึงแรด,ร่าน,ดอกทอง ,คนคึกคะนองเรียก คนเคียว อย่างว่า เถ้าคันเคียวสามซาวว่าหนุ่ม (กาพย์ปู่) หญิงดอกทอง เรียก คนหีเคียว อย่างว่า โต่บ่ช่างว่าไม้บ่เหนียว โตหีเคียวว่ากรรมก่อนกี้ (ภาษิต).

กรรมวิธี

หมายถึงระเบียบ, แบบอย่าง, หลักการ การจะทำอะไรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต้องให้มีระเบียบแบบอย่าง จึงจะน่าดูน่าชม เช่น จะฟังเทศน์ ฟังคำสั่งสอน จะกราบจะไหว้ต้องให้มีครู อย่างว่า หมกปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาด (ภาษิต) ถ้าไม่มีครูจะกลายเป็นว่าหมกปลาแดกหนอนน้อยบ่ตาย (ภาษิต).

ก่างจ่าง

หมายถึงอาการที่ยืนถ่างขา เรียก ยืนก่างจ่าง เดินถ่างขา เรียก ย่างก่างจ่าง อย่างว่า ถี่กัดจัดขี้ช้างกะลอดห่างก่างจ่างขี้มอดกะคา (ภาษิต).

ถืก

หมายถึงถูกต้อง, ถูก, โดน, แตะต้อง สัมผัส อย่างว่า ผิดถืกแท้คลองเถ้าดั่งรือ นั้นจา (สังข์) ของไม่แพง เรียก ของถืก อย่างว่า ตาชิบอดมันแดง ของชิแพงมันถืก (ภาษิต).