ค้นเจอ 5,474 รายการ

บาลี

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท; คัมภีร์พระไตรปิฎก, พุทธพจน์, เรียกว่า พระบาลี. (ป., ส. ปาลิ).

สัตถุศาสนา

หมายถึงน. คำสั่งสอนของพระศาสดา คือพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. ศาสฺตฺฤ).

ไภษัชคุรุ

หมายถึง[ไพสัดชะ-] น. พระนามพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน; ชื่อพระกริ่ง.

พระ

หมายถึง[พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คำพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคำแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.

เรืองรอง

หมายถึงว. สุกปลั่ง เช่น พระพุทธรูปมีแสงเรืองรอง.

Buddha image

แปลว่าพระ

N

ครรภมณฑล

หมายถึงน. ห้องประดิษฐานพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์. (ส. ครฺภ + มณฺฑล).

พระพุทธรูป,พระพุทธเจ้า,ศาสนา,วิญญาณ

ภาษาญี่ปุ่น

คำอ่านภาษาญี่ปุ่นほとけ

n

หน้าผาที่สลักเป็นพระพุทธรูปหรือตัวหนังสือ

ภาษาจีน摩崖

พ.ศ.บ.

ย่อมาจากพุทธศาสตรบัณฑิต

ไสยาสน์

หมายถึง[ไสยาด] ก. นอน, เรียกพระพุทธรูปในท่านอนว่า พระไสยาสน์ หรือ พระพุทธไสยาสน์, เรียกพระพุทธรูปปางนอนว่า พระปางไสยาสน์. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระเขนย พระบาททั้ง ๒ ตั้งซ้อนกัน. [ป. เสยฺย (นอน) + อาสน (นั่ง)].

ผิน

หมายถึงก. หัน, ผัน หรือ หิน ก็ว่า; แปรพระพักตร์ (ใช้แก่พระพุทธรูป).