ค้นเจอ 122 รายการ

เครื่องห้า

หมายถึงน. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สำหรับการแสดงละครและหนังในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สำหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบด้วย เครื่องทำลำนำ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.

ตะลุง

หมายถึงน. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง; จังหวัดพัทลุง เช่น ชาตรีมีแต่ล้วนชาวตะลุง. (อิเหนา).

อินทรวงศ์

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๗ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓

ทะแยกลองโยน

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแยมาบรรเลงอย่างเพลงเรื่อง และต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียนวิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยนเข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำกัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.

กลอง

หมายถึง[กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทำนองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทำตอนที่เล่นกีฬาท่าต่าง ๆ มีรำดาบ รำง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรำเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายู เครื่องและทำนองอย่างเดียวกับเพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รำกริช.

spotlessly

แปลว่าอ่อง

ADV

ลิ้น

หมายถึงน. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลงในลำคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวกเช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้; โดยปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่องอาหาร; อุปกรณ์สำหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด, ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.

เข้าลิลิต

หมายถึงก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ในตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ “สม” กับ “สนม” ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สาวสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นเท้า เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสมอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้ายเพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต."

classical Thai orchestra

แปลว่าพิณพาทย์

N

สำนวน

หมายถึงน. ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่ม ๆ ดอน ๆ; คดี เช่น ปิดสำนวน; ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง ๆ เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม; ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง ๆ เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน.

Thai orchestra consisting of five groups of wood and percussion instruments

แปลว่าปี่พาทย์

N

น้ำตาล

หมายถึงน. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทำด้วยอะไร ก็เติมคำนั้น ๆ ลงไป เช่น ทำจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทำจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทำเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทำจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทำให้เป็นนํ้าตาลทราย เรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทำเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทำเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทำเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า น้ำตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์ กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้ายสีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.