ค้นเจอ 315 รายการ

คดีเก่า, คดีที่ตกค้าง, ระเบียบเก่าๆ, ประเพณีเก่าๆ

ภาษาจีน旧案

จารีต

หมายถึง[-รีด] น. ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน. (ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).

สลึง

หมายถึง[สะหฺลึง] น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๕ สตางค์ เท่ากับ ๑ สลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ หมายความว่า ๒ สลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม.

ขว้างข้าวเม่า

หมายถึงน. ประเพณีอย่างหนึ่ง เอามะพร้าวทั้งผลโยนไปยังที่เขากำลังทำข้าวเม่ากันอยู่ เพื่อแสดงว่าเอามะพร้าวมาขอแลกข้าวเม่าไปกินบ้าง.

จังออน

หมายถึงน. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๘ กำมือ = ๑ จังออน และ ๒ จังออน = ๑ แล่ง.

แล่ง

หมายถึงน. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๒ จังออน = ๑ แล่ง และ ๒ แล่ง = ๑ ทะนาน.

ความกตัญญูกตเวทีที่บุตรมีต่อบิดามารดาคือ บุตรไม่พึงกระทำการฝ่าฝืนขนบธรรมเนียมประเพณี

หาบ

หมายถึงก. เอาของห้อยปลายคาน ๒ ข้างแล้วแบกกลางคานพาไป. น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ = ๖๐ กิโลกรัม, หาบหลวง ก็เรียก, ถ้าตามวิธีประเพณีแบบจีน ๑๐๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ.

อุทิศ

หมายถึงก. ให้, ยกให้, เช่น อุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ตายตามประเพณี; ทำเพื่อ, สละให้โดยเจาะจง. (ส. อุทฺทิศฺย; ป. อุทฺทิสฺส ว่า เจาะจง).

ตำลึง

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๔ ตำลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง, ตมฺลึง).

เผาหลอก

หมายถึง(ปาก) ก. นำดอกไม้จันทน์ ธูป เทียนไปวางใต้หีบศพ เป็นพิธีอย่างหนึ่งในประเพณีเผาศพ ทำก่อนเผาจริง.

บาท

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท, อักษรย่อว่า บ.; เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๓ บาท; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.