ค้นเจอ 181 รายการ

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๕ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ปรากฏ มกุฏกษัตริยาราม.

สุว

หมายถึง[-วะ-] คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤตแปลว่า ดี, งาม, ง่าย, สำหรับเติมหน้าคำ เช่น สุวคนธ์. (ป., ส. สุ).

สุว-

หมายถึง[-วะ-] คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤตแปลว่า ดี, งาม, ง่าย, สำหรับเติมหน้าคำ เช่น สุวคนธ์. (ป., ส. สุ).

อป,อป-

หมายถึง[อะปะ-] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).

วินาศสันติ

หมายถึง[วินาด-] ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออกเสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๑ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น จิต เมตตา ฟุต.

อุปริ

หมายถึง[อุปะริ, อุบปะริ] คำประกอบหน้าศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า เบื้องบน ข้างบน. (ป., ส.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.

มุทธชะ

หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).

อัพภันดร,อัพภันตร,อัพภันตร-

หมายถึง[อับพันดอน, -ตะระ-] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัดในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ประมาท บท ธาตุบิสมัท.

อาราธนาธรรม

หมายถึงก. ขอนิมนต์ให้พระภิกษุหรือสามเณรแสดงธรรม โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า พฺรหฺมา จ โลกาธิปติ สหมฺปติ ... เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ.