ค้นเจอ 142 รายการ

อินทรวิเชียร

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น

สามเกลอ

หมายถึงน. เครื่องมือสำหรับตอกกระทุ้งเสาเข็ม ลักษณะเป็นไม้ท่อนกลม มีที่จับสำหรับยก ๓ ที่; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เล็ก ๆ มีไส้หน้ากระฉีก ร้อยด้วยตอกให้ติดกัน ๓ ก้อน แล้วนำไปทอด.

พิสัย

หมายถึงน. วิสัย, ลักษณะที่เป็นอยู่, ความสามารถ; ขอบ, เขต, แดน, ตำบล, ถิ่น, แว่นแคว้น, ที่, มณฑล, ประเทศ. (ป. วิสย).

ขอให้พยายามใช้ความคิดวิทยาการพร้อมทั้งความฉลาด ความรอบคอบ ความมีสติรู้ตัว ในการปฏิบัติงานทุกอย่างในท้องถิ่นทุกแห่ง การใช้ปัญญาความรอบคอบ และความหนักแน่นของท่าน จะช่วยให้ภารกิจทุกประการลุล่วงไปด้วยดี ประสบผลสำเร็จที่มุ่งหมายไว้ทุก ๆ อย่าง

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน

ทุกคนจำเป็นต้องหมั่นใช้ปัญญา พิจารณาการกระทำของตนเองให้รอบคอบอยู่เสมอ ระมัดระวังทำการทุกอย่างด้วยเหตุผล ด้วยความมีสติ และด้วยความรู้ตัว เพื่อเอาชนะความชั่วร้ายทั้งมวลให้ได้โดยตลอด และสามารถก้าวไปถึงความสำเร็จที่แท้จริงทั้งในการงานและการครองชีวิต

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน

งานใด ๆ ก็ตาม ถ้าไม่ทำด้วยใจและด้วยอาการที่สงบสำรวม ความรีบร้อน ฟุ้งซ่าน หลงผิด และอคติทุก ๆ อย่าง ก็จะเข้ามาปิดบังหนทางที่จะนำปัญญามาใช้ ให้เกิดประสิทธิภาพจนหมดสิ้น และเมื่อนำปัญญามาใช้ไม่ได้ ก็ยากที่จะทำงานให้ถูกต้องได้ ความผิดพลาดและความเสียหายนานาประการก็อยู่ในวิสัยที่จะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

หมวดหมู่ความรู้ตน

ความรู้ตน

บ่อน

หมายถึงที่

กงชมพู

หมายถึงที่, ใน

กงสถาน

หมายถึงถิ่น, สถาน, ที่ สถานที่เรียก กงสถาน อย่างว่า กงสถานกว้างเกียงลมเลียนตาด (กา)

เกงเขง,เกงเคง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระเจี๊ยบเปรี้ยว. (ดู กระเจี๊ยบเปรี้ยว ที่ กระเจี๊ยบ).

จุด

หมายถึงน. รอยหรือแต้มที่มีลักษณะกลม ๆ ปรากฏที่ผิวพื้น; ขีด, ระดับ, ขั้น, เช่น จุดเดือด จุดเยือกแข็ง, ที่ เช่น จุดหมาย จุดประสงค์; ประเด็นสำคัญของเรื่องที่พูดหรือถกเถียงกันเป็นต้น เช่น พูดไม่ถูกจุด ตอบไม่ตรงจุด. ก. ทำเครื่องหมายเช่นนั้น เช่น เอาปลายดินสอจุดไว้; ทำให้ไฟติด เช่น จุดบุหรี่ จุดไฟ.

หมายถึง[นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้นำหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.