ค้นเจอ 142 รายการ

ไปยาล

หมายถึงน. เครื่องหมายละคำ รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สำหรับละคำที่ประกอบคำหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สำหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่ามีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า “ละ”, หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า “ละถึง”, เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).

ลบ

หมายถึงก. ทำให้หายไปด้วยอาการเช็ดหรือถู, ทำให้หายไป เช่น น้ำลบฝั่ง; หักออก, ชักออก, (ใช้แก่วิธีเลข). ว. ที่เป็นไปในทางร้าย ทางไม่ดี หรือทางทำลาย เช่น มองในทางลบ. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ - ว่า เครื่องหมายลบ.

การพูดเป็นคำสุดท้าย ควรเป็นการกล่าวขออภัย

แปลว่าลูกรัก หากลูกตกเป็นเหยื่อของสิ่งที่พูด หรือถูกคำพูดของลูกเป็นกับดัก ก็จงทำดังนี้สิ จงปลดปล่อยตัวของลูกเสีย เมื่อลูกตกเป็นเหยื่อในเงื้อมมือของเพื่อนบ้านแล้ว จงถ่อมตนแล้ววิงวอนเพื่อนบ้านของลูก

อนุญาต

หมายถึงยินยอม, ยอมให้, ตกลง. (ป. อนุญฺญาต)

สลึง

หมายถึง[สะหฺลึง] น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๕ สตางค์ เท่ากับ ๑ สลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ หมายความว่า ๒ สลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑ ใน ๔ บาท หรือ ๓.๗๕ กรัม.

ฟันปลา

หมายถึงน. เรียกสิ่งที่มีรูปอย่างฟันปลา, เรียกลักษณะที่สับหว่างสลับเยื้องกันอย่างฟันปลาว่า สลับฟันปลา เช่น นั่งสลับฟันปลา ยืนสลับฟันปลา; ลายคดกริช รูปดังนี้ (รูปภาพ) เรียก ลายฟันปลา, ลายฟันเลื่อย ก็เรียก.

จัตวา

หมายถึง[จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ๋ ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).

บาท

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท, อักษรย่อว่า บ.; เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๓ บาท; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๑๕ กรัม.

โท

หมายถึงว. สอง, ชั้นที่ ๒ (ใช้เกี่ยวกับลำดับชั้นหรือขั้นของยศ ตำแหน่ง คุณภาพ หรือ วิทยฐานะ ตํ่ากว่าเอก สูงกว่าตรี) เช่น ร้อยโท ข้าราชการชั้นโท ปริญญาโท; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ้ ว่า ไม้โท. (ป. ทุ, ทฺวิ; ส. ทฺวิ).

ตำลึง

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตำลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ (อักขระพิเศษ) หมายความว่า ๔ ตำลึง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณี สำหรับกำหนดนํ้าหนักเท่ากับเงินหนัก ๔ บาท หรือ ๖๐ กรัม. (ข. ฎํฬึง, ตมฺลึง).

บวก

หมายถึงก. เอาจำนวนหนึ่งรวมเข้ากับอีกจำนวนหนึ่งหรือหลายจำนวนให้เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นจำนวนเดียวกัน, เพิ่มเติมเข้าไป. ว. ที่เป็นไปในทางสนับสนุน ทางดี หรือเชิงสร้างสรรค์ เช่น มองในทางบวก; ในทางคณิตศาสตร์เรียกจำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ว่า จำนวนบวก. น. เรียกเครื่องหมายคณิตศาสตร์รูปดังนี้ + ว่า เครื่องหมายบวก.

ตาไก่

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สำหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทำเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่ เรียกว่า ตางัว.