ค้นเจอ 77 รายการ

อีเป้า

หมายถึงน. ชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาว คู่กับ ว่าวจุฬา, ปักเป้า ก็เรียก.

ปักเป้า

หมายถึง[ปัก-] น. ชื่อว่าวชนิดหนึ่งมีหางยาว, คู่กับ ว่าวจุฬา, อีเป้า ก็เรียก.

รร.บ.ต.

ย่อมาจากโรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

ขากบ

หมายถึง1.)ชื่อกางเกงขาสั้นชนิดหนึ่ง มีขาสองขาคล้ายว่าวจุฬา เรียก โส้งขากบ. 2.)ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีขาสองขาคล้ายว่าวจุฬา เรียก ว่าวขากบ.

กุลา

หมายถึงน. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง มีรูปร่าง ๕ แฉก หัวแหลม, คู่กับ ว่าวปักเป้า, ว่าวจุฬา ก็เรียก.

จุฑา

หมายถึง(แบบ) น. จุก, โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอด หัว มงกุฎ, จุฬา ก็ว่า. (ส. จูฑา; ป. จูฬา).

ก้นกบ

หมายถึงน. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.

สักว่าว

หมายถึงก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็นตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น.

วิ่งรอก

หมายถึงก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอกทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทำให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่นักร้องหรือนักแสดงเป็นต้นไปแสดงตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในวันเดียวกันหรือคืนเดียวกันให้ทันกำหนดเวลา, อาการที่รถรับจ้างวิ่งรถเปล่าตระเวนหาผู้โดยสาร, เรียกว่า วิ่งรอก หรือ วิ่งกะรอก.

เข้าปิ้ง

หมายถึงก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ในความลำบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย.

วันจักรี

หมายถึงน. วันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาพระบรมราชวงศ์จักรี ตรงกับวันที่ ๖ เมษายน.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคำไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ในภาษาไทย แต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.