ค้นเจอ 367 รายการ

จาว

หมายถึงน. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).

จำหาย

หมายถึงก. ส่อง เช่น จำหายแสงส่องตรวัน จำหนนแสงส่องฟ้า. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก ฉาย).

ชระเดียด

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ว. รายไป, เรียดไป, โบราณเขียนเป็น ชรดียด ก็มี เช่น ผลักให้ตากตนอยียด ชรดียดด้าวดิ้นดรนอนอยู่แล. (ม. คำหลวง กุมาร).

ทรรป

หมายถึง[ทับ] น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, เช่น แลมาให้แก่บาคค่อมขวลทรรป. (ม. คำหลวง ชูชก), ทัป ก็ว่า. (ส. ทรฺป; ป. ทปฺป).

เสียเพศ

หมายถึง(วรรณ) ก. เปลี่ยนภาวะจากคฤหัสถ์เป็นนักบวช เช่น ซัดยังเมืองมัทรบุรี เสียเพศเทพี เป็นดาบสศรีโสภา. (สมุทรโฆษ), เปลี่ยนภาวะจากนักบวชเป็นคฤหัสถ์ เช่น เสียฤษีพรตเพศ ห้องหิมเวศนาจลจรหล่ำน้นน ราชเวสมธารยิ ทรงเพศเป็นพญามหากระษัตราธิราช. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).

โหด

หมายถึง(โบ) ว. ไร้, ไม่มี, เช่น นกไร้ไม้โหด, ยากไร้ เช่น เพราะเห็นกูโหดหืน แลดูแคลนกูกลใด ด่งงนี้. (ม. คำหลวง มัทรี).

อาสูร

หมายถึง[-สูน] (โบ) ก. สงสาร เช่น อาสูรสองหลานเอย ย่อมเสวยเคยข้าวสาลี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า); เอ็นดู; กังวล. (ข. อาสูร ว่า สงสาร, น่าอนาถ).

กปณา

หมายถึง[กะปะนา] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป. กปณ).

กระสัน

หมายถึงก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึงไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสองกระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็นรัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.

ค้อยค้อย

หมายถึง(กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อย ด้วยบราทุกราพร้อยพราย. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

คำหลวง

หมายถึงน. คำประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์กลอนปนกัน คือ มหาชาติคำหลวงและพระนลคำหลวง, คำประพันธ์ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคำหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง.

จำงาย

หมายถึง(โบ) น. สาย, บ่าย, เช่น ลูกไม้บ่ทันงาย จำงายราชอดยืน. (ม. คำหลวง มัทรี). ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี ท่านนี้. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จํงาย ว่า ระยะไกล).