ค้นเจอ 258 รายการ

กรรมกูไง

กฎกรรม

หมายถึงกรรมคือการกระทำ แยกออกเป็น ๒ อย่าง คือทำดีและทำชั่ว ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว นี่คือกฎของกรรม.

กรรมชวาต

หมายถึงลมเกิดแต่กรรม มีครรภ์ครบกำหนดจะคลอดแล้วเกิดลมเบ่ง ลมเบ่งนี้เรียก ลมกรรมชวาต อย่างว่า ลมกรรมชวาตต้องเถิงองค์ภูวนาถ (กา).

กรรมปฏิสรณะ

หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.

กรรมวิธี

หมายถึงระเบียบ, แบบอย่าง, หลักการ การจะทำอะไรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต้องให้มีระเบียบแบบอย่าง จึงจะน่าดูน่าชม เช่น จะฟังเทศน์ ฟังคำสั่งสอน จะกราบจะไหว้ต้องให้มีครู อย่างว่า หมกปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาด (ภาษิต) ถ้าไม่มีครูจะกลายเป็นว่าหมกปลาแดกหนอนน้อยบ่ตาย (ภาษิต).

อนุกรรมการ

หมายถึงกรรมการน้อย กรรมการใหญ่เรียกกรรมการ ในกรณีที่จำต้องมีกรรมการสองระดับ ระดับแรกเรียก กรรมการ ระดับสอง เรียก อนุกรรมการ.

กรรมการก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง.

กรรมชวาต

หมายถึง[กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).

กรรมฐาน

หมายถึง[กำมะถาน] น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. (ส.; ป. กมฺมฏฺาน).

กรรมพันธุ์

หมายถึง[กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = “มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์” เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).

กรรมศาลา

หมายถึง[กำมะ-] น. โรงงาน. (ส. กรฺม + ศาลา = โรง).

กรรมสัมปาทิก

หมายถึง[กำมะสำปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กรรมการของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).