ค้นเจอ 8,031 รายการ

ก้นแงน

หมายถึงก้นงอน ก้นที่งอนออกมาข้างหลัง เรียก ก้นแงน อย่างว่า ญิงใดก้นแอ้งแถ้งแงนก้นเบิดคืนหลัง ดังโขโมคือยักษ์ย่างแพนแงนก้น ญิงนั้นจนเถิงเถ้าใจเบาเคียดง่าย อย่าได้หมายอยู่ซ้อน เมือหน้าบ่ดี (คำสอน).

ก้นโดก

หมายถึง1.)นกโพระดก ชื่อนกชนิดหนึ่งมีชื่อเรียกหลายอย่าง เรียก นกก้นโดก โกนโดก กะโดก โพนโดก 2.)ชื่อพรรณไม้เล็กชนิดหนึ่ง ลำต้นสูงศอกเศษ ใบใช้กินเป็นผักได้ เรียก ผักก้นโดก ผักกะโดก ก็เรียก.

กรรมกรณ์

หมายถึงลงโทษ ได้แก่การลงโทษผู้ทำความผิด โดยการจำคุก ๑ ปรับไหม ๑ ทั้งจำคุกทั้งปรับ ๑ ประหารชีวิต ๑. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ได้แก่ตัวบทกฎหมายที่ลงโทษแก่บุคคลที่ทำความผิด โดยสมควรแก่โทษานุโทษ.

กรรมวิบาก

หมายถึงผลของกรรมเรียกวิบาก ผลดีเกิดจากการทำดี ผลไม่ดีเกิดจากการทำไม่ดี คนทำดีได้รับผลดี คนทำชั่วได้รับผลชั่ว ผลชั่วแม้แต่ผลชั่วก็ไม่ต้องการ ต้องการแต่ผลดี อย่างว่า ดีดีนี้ใผเห็นอยากเบิ่ง เทิงอยากเทิ้งเอาขึ้นขี่คอ (ภาษิต).

กรรมาธิการ

หมายถึงกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่สูงกว่ากรรมการ โดยที่จะทำการสอบสวนข้อความใดๆ เกี่ยวแก่กิจการที่ตนมีอำนาจหน้าที่ก็ได้ เช่น กรรมาธิการแห่งสภาผู้แทนราษฎร.

กระจาย

หมายถึงกำจาย ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งใบและดอกคล้ายต้นฝาง ฝักคล้ายฝักส้มป่อย เมล็ดใหญ่ ใช้เมล็ดแช่น้ำสีดำใช้ย้อมผ้าได้ เรียก หมากกระจาย อย่างว่า โอนอหีเอย คันชิเมือนำอ้ายหีบ่แดงให้ย้อมครั่ง คันแม่นย้อมครั่งแล้ว ให้ลงแหล้หมากกระจาย (อ่านเจือง). ชื่อว่านชนิดหนึ่งเรียก ว่านกระจาย ใช้เป็นว่านคงยิงไม่ออกแทงไม่เข้าผู้มีว่านกระจายต้องเลี้ยงว่านปีละครั้ง ใช้เขียดหรือกบดิบเลี้ยง โยนกบหรือเขียดดินเข้าไปว่านจะดูดกินเลือดกบหรือเขียดทันทีถ้าไม่เลี้ยงว่านจะไม่ศักดิ์สิทธิ์และเจ้าของว่านจะเป็นปอบ

ขี้มะเฮ็ง

หมายถึงมะเร็ง มะเร็งคือโรคขี้มะเฮ็ง ขี้มะเฮ็งอาจแยกได้เป็น 2 ชนิด ชนิดที่เป็นแอ่งเหมือนเป็นแอ่งน้ำขนาดตื้น มีน้ำหนองไหล และขนิดที่เป็นเนื้อเน่า.

ไขข้อ

หมายถึงน้ำมันที่อยู่ตามข้อต่อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า สำหรับเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปมา พับเข้าเหยียดออกได้ตามปกติ ไม่เกิดความขัดข้องเรียก น้ำมันไขข้อ.

ไชโย

หมายถึงคำเปล่งเสียงแสดงความดีใจในการที่ได้ชัยชนะ.

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

ไตรวิชชา

หมายถึงวิชชา 3 คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ วิชชารู้ความเกิดตายของคนและสัตว์ และวิชชารู้ในการทำให้สิ้นกิเลส.

ไทยทาน

หมายถึงของควรให้ ของควรถวายพระสงฆ์ได้แก่ปัจจัย 4 มีผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาแก้ไข เรียก ไทยทาน ไทยธรรม ก็ว่า.