ค้นเจอ 1,501 รายการ

ก๊กก๊ก

หมายถึงมีเสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงเคาะไม้

ก้นแงน

หมายถึงก้นงอน ก้นที่งอนออกมาข้างหลัง เรียก ก้นแงน อย่างว่า ญิงใดก้นแอ้งแถ้งแงนก้นเบิดคืนหลัง ดังโขโมคือยักษ์ย่างแพนแงนก้น ญิงนั้นจนเถิงเถ้าใจเบาเคียดง่าย อย่าได้หมายอยู่ซ้อน เมือหน้าบ่ดี (คำสอน).

ก้อกก้อก

หมายถึงเสียงดังอย่างนั้น เช่นเสียงที่เกิดจากการกรนของเด็กดัง ก้อกก้อก ถ้าผู้ใหญ่กรนดังโก้กโก้ก.

ขอบแขบ

หมายถึงเสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงเคี้ยวข้าวเขียบดังขอบแขบ.

จั่ง

หมายถึงถึง, อย่าง อย่างเช่นทำอย่างไร เรียก เฮ็ดจั่งใด พูดอย่างไรเรียก เว้าจั่งใด คิดอย่างไรเรียก คึดจั่งใด อย่างนี้เรียก จั่งซี้ อย่างนั้นเรียก จั่งซั้น อย่างไรเรียก จั่งใด ถูกอย่างนั้นเรียก แม่นจั่งซั้น เป็นต้น.

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

หูเมือง

หมายถึงราชทูต ราชทูตถือว่าเป็นหูเมือง เพราะราชทูตไปประจำอยู่ประเทศอื่น เมื่อประเทศนั้นมีเรื่องอะไรก็ส่งข่าวมาให้ประเทศของตนทราบ เท่ากับว่ามีหูอยู่ทั่วไป.

ไอยรา

หมายถึง1.) ช้าง อย่างว่า ประดับหยวกเข้าขันต่อเต็งชน เฮาจักชนไอยราต่อมือมันเจ้า ถืนถืนเข้าตำชนทุกแห่ง ม้ามากล้นลีล้าวพุ่งแหลม (ฮุ่ง). 2.) แผ่นดิน อย่างว่า ท้าวส่งเปลื้องฟ้าท่าวไอยรา (กา) ปืนแผดเพี้ยงสะเทือนทุ่มไอยรา มารฟางฟุบเลือดโทมทังค้าย นับแต่ตัวเดียวเถ้าตายคืนพลแผ่ มานั้น แสนโกฏิตั้งเป็นด้วยเดชมัน แท้แล้ว (สังข์).

ฮอดฮ้อย

หมายถึงถึงจำนวนร้อย เรียก ฮอดฮ้อย อย่างว่า เมื่อนั้นตนประเสริฐท้าวธรงเดชลือฤทธิ์ ทวนเชษฐาไต่ทางนำน้อง คอยเห็นซวงหลวงพ้นฮังฮามหลายหลาก ยาวฮอดฮ้อยประมาณเส้นเชือกงัว (สังข์).

กะสั่น

หมายถึงถ้าอย่างนั้น, เพราะฉะนั้น

คะสั่น

หมายถึงถ้าอย่างนั้น, เพราะฉะนั้น

คนพรรค์นั้น

หมายถึงน. คนพวกนั้น (มักใช้ในทางดูหมิ่นดูแคลน).