ค้นเจอ 173 รายการ

ตัวสะกด

หมายถึงน. พยัญชนะท้ายคำหรือพยางค์ที่ทำหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไปตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน.

ก กา

หมายถึงน. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกดว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒ เป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๒ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รถ ปรารถนา.

tail end (of one of the Thai consonants)

แปลว่าหาง

N

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๑ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น กอซ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๖ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รัฐ อัฐ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๑ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น เสิร์ฟ เนกาทิฟ ไมโครเวฟ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๒ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กบในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ปรารภ ลาภ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๘ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น วัฒน์ วุฒิ.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).