ค้นเจอ 2,746 รายการ

อย่าง

หมายถึง[หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนามบอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงานหลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคำวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.

อเสกขบุคคล,อเสขบุคคล

หมายถึง[อะเสกขะ-, อะเสขะ-] น. ผู้ที่ไม่ต้องศึกษาอีก หมายถึง พระอรหันต์.

อันโตชน

หมายถึงน. “คนภายใน” หมายถึง คนในตระกูล เช่น บุตร ภรรยา คนใช้. (ป.).

อัมพุท

หมายถึงน. “ผู้ให้นํ้า” หมายถึง เมฆ. (ป., ส.).

อิสริยยศ

หมายถึง[อิดสะริยะยด] น. ยศอันยิ่งใหญ่, ยศที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ หมายถึง สกุลยศของพระราชวงศ์ที่ถือกำเนิดมาว่ามียศทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า, ถ้าพระราชวงศ์พระองค์ใดได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดีความชอบ ก็อาจได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรมจึงต่อพระนามกรมไว้ท้ายพระนามเดิม เช่น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์.

อุษณกร

หมายถึง[-กอน] น. “ผู้กระทำความร้อน” หมายถึง พระอาทิตย์.

เอกังสพยากรณ์

หมายถึง[-สะพะยากอน] น. “การพยากรณ์โดยส่วนเดียว” หมายถึง การพยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจน สามารถตอบได้อย่างแจ่มแจ้งทันที.

เอกังสวาที

หมายถึง[-สะ-] น. “ผู้กล่าวโดยส่วนเดียว” หมายถึง ผู้กล่าวยืนยันเด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้.

โองการ

หมายถึงน. คำศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำ, ถ้าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์มาจากพระดำรัสสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. (ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม หมายถึง พระเป็นเจ้าทั้ง ๓ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ).

รสชาติ

หมายถึง[รดชาด] น. รส เช่น แกงนี้ไม่มีรสชาติเลย

นพปฎล

หมายถึง[นบพะปะดน] ว. มีเพดาน ๙ ชั้น หมายถึง เศวตฉัตร. (ป. นว + ปฏล).

นิรโทษกรรม

หมายถึง[นิระโทดสะกำ] (กฎ) น. ตามกฎหมายแพ่ง หมายถึง การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่า ไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เช่น การกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย; ตามกฎหมายอาญา หมายถึง การลบล้างการกระทำความผิดอาญาที่บุคคลได้กระทำมาแล้ว โดยมีกฎหมายที่ออกภายหลังการกระทำผิดกำหนดให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด และให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด.