ค้นเจอ 104 รายการ

กฎหมายอาญา

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่กำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น. (อ. criminal law).

กฎหมายมหาชน

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองเอกชนที่อยู่ในดินแดนของรัฐนั้น เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา. (อ. public law).

กฎหมายระหว่างประเทศ

หมายถึง(กฎ) น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ, เดิมเรียกว่า กฎหมายนานาประเทศ. (อ. international law).

กฎหมายแพ่ง

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).

กฎหมายปกครอง

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะรวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชน. (อ. administrative law).

กฎหมายเอกชน

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการอย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชนที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตยและการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตย. (อ. constitutional law).

กฎ

หมายถึง[กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปากหลากคำไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชาให้กฎเป็นตำราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), “พระมหาธรรมราชาก็ตรัสให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย”. (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คำบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทำตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พงศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกำหนดในเรื่องธรรมชาติตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).