ค้นเจอ 391 รายการ

ขนาน

หมายถึง[ขะหฺนาน] ก. เรียงคู่กันไป เช่น เรือแล่นขนานกันไป วิ่งขนาน, เรียกเรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสำหรับข้ามฟากว่า เรือขนาน; เรียก, ตั้ง, เช่น ขนานนาม ว่า ตั้งชื่อ. (คณิต) น. เรียกเส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะเท่ากันโดยตลอดว่า เส้นขนาน. (ข. ขฺนาน ว่า เทียบ).

ขลุบ

หมายถึง[ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สำหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทองในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมันเหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).

คลี

หมายถึง[คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลมซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมายทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อบูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).

แคบ

หมายถึงน. อานม้า เช่น สรรพแคบหมอนทองห้อยภู่พราย. (ยวนพ่าย). (เทียบ ข. แคบ ว่า เบาะ, อานม้า). ก. ขลิบ เช่น ล้วนอลงกฎด้วยอลงการ เบาะลอออานแคบคำ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (ถิ่น-อีสาน แขบ ว่า ขลิบ).

เจียม

หมายถึงน. เครื่องลาดลักษณะเหมือนพรม ทำด้วยขนสัตว์ชนิดหนึ่งในจำพวกกวาง มีอยู่ทางเหนือของประเทศจีน. (เทียบ ข. เจียม ว่า แกะ).

ตระพัง

หมายถึง[ตฺระ-] น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตะพัง กระพัง หรือ สะพัง ก็ว่า. (เทียบ ข. ตฺรพำง ว่า บ่อที่เกิดเอง).

ตะหลิว

หมายถึงน. เครื่องมือทำด้วยเหล็ก ใช้แซะหรือตักของที่ทอดหรือผัดในกระทะ. (เทียบ จ. เตี้ยะ ว่า กระทะ + หลิว ว่า เครื่องแซะ, เครื่องตัก).

ตักบาตร

หมายถึงก. เอาของใส่บาตรพระ. (เทียบ ข. ฎาก่ ว่า วางลง).

ตาเต็ง

หมายถึงน. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคันที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สำหรับชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง).

ถเมิน

หมายถึง[ถะเมิน] น. พวก, ทหาร, เหล่า, พรานป่า. (เทียบ ข. เถมิร ว่า ผู้เดิน).

รวมเข้าด้วยกัน,ประสาน,ปรับ,ตั้ง,ให้เข้ากัน,เทียบ

ภาษาญี่ปุ่น併せる

คำอ่านภาษาญี่ปุ่นあわせる

v1

รวมเข้าด้วยกัน,ประสาน,ปรับ,ตั้ง,ให้เข้ากัน,เทียบ

ภาษาญี่ปุ่น合わせる

คำอ่านภาษาญี่ปุ่นあわせる

v1