ค้นเจอ 7,048 รายการ

กรอง

หมายถึง1.)แยกของละเอียดออกจากของหยาบ เช่น ใช้ผ้ากรองน้ำที่สกปรกให้สะอาด หรือกรองเหล้าโทด้วยผ้าขาว เรียก กรอง ตอง ก็ว่า. 2.)ตรึกตรอง เช่นคิดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้ว เรียก กรอง ตอง ก็ว่า อย่างว่า คึดฮอดน้องนอนกรองน้ำตาหลั่ง คันแม้นพังจั่งส้างโชด เพม้างตั้งแต่ดน (กลอน)

กระจอนจูม

หมายถึงตุ้มหูที่ทำเป็นดอกตูมๆ เหมือนดอกงิ้ว เรียก กระจอนจูม อย่างว่า กระจอนจูมสุบเซิดคำกวมเกล้า (ขุนทึง).

กระจะ

หมายถึงแจ่มแจ้ง, ชัดเจน, ขาวผ่อง ลายชัดเจนเรียก ลายกระจะ ขาวผ่องเรียก ขาวกระจะ อย่างว่า ขาวกระจะปานน้ำถ้วมเข้า ตั้งเช้าเง้าปานนมผู้สาว.(บ).

กระจาย

หมายถึงกำจาย ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งใบและดอกคล้ายต้นฝาง ฝักคล้ายฝักส้มป่อย เมล็ดใหญ่ ใช้เมล็ดแช่น้ำสีดำใช้ย้อมผ้าได้ เรียก หมากกระจาย อย่างว่า โอนอหีเอย คันชิเมือนำอ้ายหีบ่แดงให้ย้อมครั่ง คันแม่นย้อมครั่งแล้ว ให้ลงแหล้หมากกระจาย (อ่านเจือง). ชื่อว่านชนิดหนึ่งเรียก ว่านกระจาย ใช้เป็นว่านคงยิงไม่ออกแทงไม่เข้าผู้มีว่านกระจายต้องเลี้ยงว่านปีละครั้ง ใช้เขียดหรือกบดิบเลี้ยง โยนกบหรือเขียดดินเข้าไปว่านจะดูดกินเลือดกบหรือเขียดทันทีถ้าไม่เลี้ยงว่านจะไม่ศักดิ์สิทธิ์และเจ้าของว่านจะเป็นปอบ

ก้อกก้อก

หมายถึงเสียงดังอย่างนั้น เช่นเสียงที่เกิดจากการกรนของเด็กดัง ก้อกก้อก ถ้าผู้ใหญ่กรนดังโก้กโก้ก.

แก่นเมือง

หมายถึงเจ้าเมือง เจ้าเมืองเรียก แก่นเมือง อย่างว่า เจ้าเมืองดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ้ เจ้าเมืองดีเห็นแก่ไพร่แสนเมือง (ภาษิต).

ไกล

หมายถึงห่าง, ไม่ใกล้, ยาว อยู่ห่างกันเรียก ไกลกัน อย่างว่า หมากส้มนับมื้อไกลเกลือ หัวเฮือนับมื้อไกลฝั่ง ดอกสะมั่งนับมื้อไกลจากต้น ดมแล้วกลิ่นบ่หอม (กลอน) นับมื้อไกลกันแล้วหัวอินทร์เสด็จจาก หน้าผากไกลกระด้นคราวมื้อกูกบ่เห็น (หน้าผาก).

ขอบแขบ

หมายถึงเสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงเคี้ยวข้าวเขียบดังขอบแขบ.

ข้อหล้อ

หมายถึงสั้นนิดเดียว เรียก สั้นข้อหล้อ อย่างว่า สั้นข้อหล้อมือยื้อบ่เถิง สูงเจวเววชั่วสามวาฮิ้น (ภาษา).

ขี้ถี่ (นก)

หมายถึงนกทึดทือ นกทึดทือเรียก นกขี้ถี่ นกชนิดนี้ร้องเสียงดังทึดทือทึดทึ้ง ก็ว่า อย่างว่า ใผชิหลิงเห็นใส้ตับไตนกขี้ถี่ มันหากฮ้องทึดทึ้งใจเลี้ยวใส่กระป ู(ผญา)

ขี้เฮอะ

หมายถึงสวะที่ลอยอยู่ตามน้ำ หรือติดอยู่ตามต้นไม้หรือใบไม้ เรียก ขี้เฮอะ อย่างว่า อย่าเตาะเฮอะใส่หัว (ภาษิต).

จั่ง

หมายถึงถึง, อย่าง อย่างเช่นทำอย่างไร เรียก เฮ็ดจั่งใด พูดอย่างไรเรียก เว้าจั่งใด คิดอย่างไรเรียก คึดจั่งใด อย่างนี้เรียก จั่งซี้ อย่างนั้นเรียก จั่งซั้น อย่างไรเรียก จั่งใด ถูกอย่างนั้นเรียก แม่นจั่งซั้น เป็นต้น.