ค้นเจอ 133 รายการ

แบรก

หมายถึง[บะแหฺรก] (กลอน) น. แปรก, เครื่องเกวียนหรือรถชนิดหนึ่งสำหรับประกบหัวเพลากับคานกันลูกล้อไม่ให้เลื่อนหลุด.

What goes around comes around

ความหมายกงเกวียนกำเกวียน

กเรณุ

หมายถึง[กะเรนุ] (แบบ) น. ช้าง เช่น ไร้เกวียนกาญจนยานสินธพแลสี- พิกากเรณุหัสดี ดำรง. (สรรพสิทธิ์). (ป.).

สามชุก

หมายถึงน. ภาชนะสานรูปฟักผ่าตามยาว ใช้สอดลงในเกวียน สำหรับใส่ข้าวเปลือกเป็นต้น, กระชุก ก็เรียก. (ดู กระชุก ๒).

(ทำงานอึดเหมือน)วัวแก่เกวียนเก่า , สำนวนไทยอึดเป็นเรือเกลือ

ภาษาจีน老牛破车

รอยล้อรถ รอยล้อเกวียน เส้นทางการเดินรถที่กำหนดแน่นอน สัมผัส วิธีการ ความคิดเห็น

ภาษาจีน

กระบอกเพลา

หมายถึงน. ไม้แข็งเช่นเต็งรังทำเป็นปลอกตอกอัดไว้ในรูดุมเกวียน สำหรับสอดเพลาเข้าในรูนั้นป้องกันมิให้รูดุมคราก.

แอก

หมายถึงน. ไม้วางขวางบนคอวัวหรือควายใช้ไถนา คราดนา หรือเทียมเกวียน เป็นต้น; โดยปริยายหมายถึงการถูกกดขี่ ในคำว่า ปลดแอก.

จังหวัดนครราชสีมา : เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน

คำขวัญประจำจังหวัด

เพลา

หมายถึง[เพฺลา] น. แกนสำหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน, โดยปริยายหมายถึงแกนสำหรับให้ล้อหรือใบจักรหมุน; ไม้สำหรับขึงใบเรือ.

แปรกบัง

หมายถึง[ปะแหฺรก-] น. ไม้ยาวสำหรับประกับหัวเพลาทั้ง ๒ ข้างของเกวียนหรือราชรถ กันไม่ให้ลูกล้อเลื่อนหลุด โดยมีไม้ขวางทางหรือแปรกขวางทางยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้าน.

ท่า

หมายถึงน. ฝั่งนํ้าสำหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สำหรับขึ้นลงริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลำคลองว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน.