ค้นเจอ 112 รายการ

percolate

แปลว่าเกรอะ

V

บาปกรรม ที่ทำแล้วย่อมไม่มีเปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น, บาปย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้

ฟอน

หมายถึงก. บ่อน, กินพรุนข้างใน, พลอนทั่ว, เช่น หนอนฟอนชมพู่; ค้นหา เช่น ฟอนจนทั่ว ฟอนหาของสกปรกกิน. ว. ย่อยยับ, แหลก, เช่น ฟันฟอน คือ ฟันให้ยับย่อย ฟันให้แหลก; ที่ไหม้เป็นจุรณ, ที่ไหม้เป็นขี้เถ้า, เช่น กองฟอน.

เคียว

หมายถึงแรด,ร่าน,ดอกทอง ,คนคึกคะนองเรียก คนเคียว อย่างว่า เถ้าคันเคียวสามซาวว่าหนุ่ม (กาพย์ปู่) หญิงดอกทอง เรียก คนหีเคียว อย่างว่า โต่บ่ช่างว่าไม้บ่เหนียว โตหีเคียวว่ากรรมก่อนกี้ (ภาษิต).

กปณก

หมายถึง[กะปะนก] น. ผู้อนาถา, ผู้ไร้ญาติ, ผู้น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนก ก็มี เช่น เถ้ากปนกแพนกพล้าว มีแม่ย้าวสาวศรหนึ่งน้นน. (ม. คำหลวง ชูชก). (ป. กปณ).

ตะกรับ

หมายถึง[-กฺรับ] น. ดินเผาหรือเหล็กเป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สำหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตกลงข้างล่าง (โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น), รังผึ้ง ก็ว่า; เหล็กทำเป็นซี่ ๆ มีด้ามจับ สำหรับปิ้งปลาเป็นต้น.

แปรรูป

หมายถึงน. วิธีเอาเถ้าถ่านและกระดูกศพที่เผาเสร็จแล้วบนกองฟอนมาเรียงลำดับเป็นอย่างรูปคน ให้หัวอยู่ทางทิศตะวันตกแล้วหันกลับมาทางทิศตะวันออก, แจงรูป หรือ แปรธาตุ ก็ว่า; เรียกไม้ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทำเป็นแผ่นกระดานเป็นต้นว่า ไม้แปรรูป.

กดวาท

หมายถึงพูดจาท่าทีใหญ่โต เรียก กดวาท อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มฟุนป้อย ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีผาด มึงหากกดวาทเว้ามีได้เวทนา ท่านเอย (สังข์).

มูลฝอย

หมายถึงน. เศษสิ่งของที่ทิ้งแล้ว, หยากเยื่อ, กุมฝอย หรือ คุมฝอย ก็ว่า; (กฎ) เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น.

ไง้งั่น

หมายถึงสั่น, สะเทือน สั่นสะเทือน เรียก ไง้งั่น งั่นไหง ไหงงั่น ก็ว่า อย่างว่า เหมือนดั่งฟ้าชิข้วมดินฟ้างั่นไหง (กา) ยนยนยอหอกแหลมไหลเข้า บาดาลพื้นธรณีไง้งั่น เถ้าใส่ฟ้าคึงง้าวเงือดกาง (ฮุ่ง).

จระกล้าย

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).

จรล่ำ,จรหล่ำ

หมายถึง[จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อชีชูชกเถ้ามหลกอการ ไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่าทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).