ค้นเจอ 111 รายการ

วรรณพฤติ

หมายถึง[วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กำหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียงหนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ.

กฏุกผล

หมายถึง[กะตุกะผน] (แบบ) น. ผลอันเผ็ดร้อน. (ชุมนุมตำรากลอน ปาราชิตฉันท์).

จาว

หมายถึงก. ส่งเสียงดัง, อึกทึก, เช่น อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์. (สมุทรโฆษ). (ไทยขาว จาว ว่า ส่งเสียงดัง).

พฤติ,พฤติ-

หมายถึง[พฺรึด, พฺรึดติ-] น. ความประพฤติ, กิจการ, ความเป็นไป; ลักษณะความเป็นอยู่, อาชีวะ; คำฉันท์. (ส. วฺฤตฺติ; ป. วุตฺติ).

คาถา

หมายถึงน. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.

ชเนตตี

หมายถึง[ชะเนดตี] น. แม่ เช่น ชเนตตีสมะนามกร. (ฉันท์วรรณพฤติ). (ป.; ส. ชนยิตฺรี).

หมายถึงน. ชื่อคณะฉันท์ มีลหุล้วน เรียกว่า น คณะ, ย่อจากคำว่า นภ (ฟ้า).

กฤดาอัญชลี

หมายถึง[กฺริ-] (โบ; กลอน) แยกคำจาก กฤดาญชลี เช่น ขอถวายกฤดาอัญ- ชลีโอนศิโรจร. (ตำราช้างคำฉันท์).

ฉันทศาสตร์

หมายถึง[ฉันทะสาด] น. ตำราว่าด้วยการแต่งฉันท์ทั้งที่เป็นมาตราพฤติและวรรณพฤติ เป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งในศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. (ส.).

มาลินี

หมายถึงน. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๕ พยางค์; ผู้แต่งด้วยพวงดอกไม้ (เฉพาะเพศหญิง). (ป., ส.).

โตฎก

หมายถึง[-ดก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติมี ๑๒ พยางค์, ประกอบด้วย ส คณะล้วน. (ป. โตฏก).

กระกลับกลอก

หมายถึง(กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตำราช้างคำฉันท์).