ค้นเจอ 258 รายการ

กรรม

กรรมขัย

หมายถึงการสิ้นอายุเพราะกรรม เช่น ตายเพราะหมดอายุ เป็นต้น.

กรรมชรูป

หมายถึงรูปที่เกิดแต่กรรม คนหรือสัตว์ที่เกิดมา ร่างกายที่เป็นตัวตนของเรากรรมเป็นคนแต่ง เราแต่งเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็แต่งให้สวยงานไม่ได้ พ่อแม่จึงเป็นเสมือนเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยงามแล้วเรือนเกิดไม่เป็นปัญหา

กรรมบถ

หมายถึงทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรม ทางแห่งกรรมดี อกุศลกรรมทางแห่งกรรมไม่ดี ทางแห่งอกุศลกรรมมี ๑๐ อย่าง จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง ทางแห่งกุศลกรรมก็มี ๑๐ อย่างในทางตรงข้าม

ตจปัญจกกรรมฐาน

หมายถึงกรรมฐานที่ให้พิจารณาส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีหนังเป็นที่ 5.

บัพพาชนียกรรม

หมายถึงกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่ (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).

กรรมการ

หมายถึง(โบ; กลอน) น. ผู้รับใช้ เช่น ข้าขอภักดีภูบาล เป็นทาสกรรมการ ไปกว่าจะสิ้นสุดสกนธ์. (เสือโค).

กรรมการิณี

หมายถึง[กำมะ-] น. กรรมการซึ่งเป็นเพศหญิง. (ส. กรฺม + การิณี).

กรรมชรูป

หมายถึง[กำมะชะรูบ] น. รูปของคนและสัตว์. (ส.; ป. กมฺมชรูป ว่า รูปที่เกิดแต่กรรม).

กรรมวาจก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิดถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก.

กรรมวาจา

หมายถึง[กำมะ-] น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (ส. กรฺม + วาจา = คำ; ป. กมฺม + วาจา).

กรรมาธิการ

หมายถึง[กำ-] น. บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภา แล้วรายงานต่อสภาคณะกรรมาธิการมี ๒ ประเภท คือ คณะกรรมาธิการสามัญ และคณะกรรมาธิการวิสามัญ คณะกรรมาธิการสามัญประกอบด้วยบุคคลซึ่งเป็นสมาชิกของสภาล้วน ๆ คณะกรรมาธิการวิสามัญประกอบด้วยบุคคลผู้เป็นสมาชิกและบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภารวมกัน หรือบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกของสภาทั้งหมดที่สภาเลือกและตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ.