ค้นเจอ 1,933 รายการ

อุปพันธ์

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. การติดต่อ, การร่วม; เยื่อใย, เครื่องผูกพัน. (ป., ส.).

อุปนิษัท

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตกลุ่มหนึ่ง คัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรกเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ที่สอนว่าทุกสิ่งทุกอย่างออกมาจากอาตมัน. (ส.).

อุปมา

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบ, มักใช้เข้าคู่กับ อุปไมย ในประโยคเช่น เรื่องนี้มีอุปมาฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น. ก. เปรียบเทียบ. (ป., ส.).

อุปมาน

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. การเปรียบเทียบสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน. (ป., ส.).

อุปนัย

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม, คู่กับ นิรนัย. (อ. induction).

อุปสมบัน,อุปสัมบัน

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. ผู้อุปสมบทแล้ว, ภิกษุ, คู่กับ อนุปสัมบัน ได้แก่ผู้ที่ไม่ได้อุปสมบท คือ สามเณรและคฤหัสถ์. (ป. อุปสมฺปนฺน).

อุปการี

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. ผู้ช่วยเหลือ, ผู้อุดหนุน, หญิงใช้ว่า อุปการิณี.

อุปพัทธ์

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] ก. เนื่อง, เนื่องกัน. ว. ที่เนื่องกัน. (ป., ส.).

อุปฮาด

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. (โบ; ถิ่น-อีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองในภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้วผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่น-พายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจากตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.

อุปรากร

อ่านว่าอุ-ปะ-รา-กอน

อุปริมปริยาย

อ่านว่าอุ-ปะ-ริ-มะ-ปะ-ริ-ยาย

อุปปาติกะ

อ่านว่าอุ-ปะ-ปา-ติ-กะ