ค้นเจอ 660 รายการ

ปับ

หมายถึงว. เสียงดังอย่างเสียงถูกชกหรือต่อย; อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปับ หยิบปับ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุบ เป็น ปุบปับ.

ปั๊บ

หมายถึงว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปั๊บ หยิบปั๊บ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุ๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.

วงศ์วาน

หมายถึงน. ลูกหลานเหลนในตระกูล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ว่านเครือ เป็น วงศ์วานว่านเครือ.

วาณิช,วาณิชกะ

หมายถึง[วานิด, วานิดชะ-] น. พ่อค้า, มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ พ่อค้า เป็น พ่อค้าวาณิช. (ป., ส.).

วาสนา

หมายถึง[วาดสะหฺนา] น. บุญบารมี, กุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. (ป., ส.).

วิกฤต,วิกฤต-,วิกฤติ,วิกฤติ-

หมายถึง[วิกฺริด, วิกฺริดตะ-,วิกฺริด, วิกฺริดติ-] ว. อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย เช่น การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติ, มักใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์ เป็น วิกฤติกาล หรือ วิกฤติการณ์, อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น มุมวิกฤติ จุดวิกฤติ. (ส.; ป. วิกต, วิกติ).

วิกัติการก

หมายถึง[วิกัดติ-] (ไว) น. คำที่อธิบายตำแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คำที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา “เป็น” หรือ “คือ” เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.

วิริยะ

หมายถึงน. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็น วิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้. (ป.; ส. วีรฺย).

โศลก

หมายถึง[สะโหฺลก] น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.

สร,สร-,สร-

หมายถึง[สฺระ-] คำนำหน้าคำอื่นที่ใช้ในบทกลอนเพื่อความสละสลวย เช่น ดื่น เป็น สรดื่น, คำที่แผลงมาจากคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ส ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สนุก เป็น สรนุก.

สรรพางค์

หมายถึง[สันระพาง] น. ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สรรพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย, สารพางค์ ก็ว่า. (ส. สรฺวางฺค).

สระ

หมายถึง[สฺระ] คำที่แผลงมาจากคำที่ขึ้นต้นด้วยคำ สะ ซึ่งใช้ในบทกลอน เช่น สะท้อน เป็น สระท้อน.