ค้นเจอ 324 รายการ

ครุ

หมายถึง[คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).

ทรเล่ห์

หมายถึง[ทอระ-] ก. เฉียดหลังนํ้า เช่น ทุงทองทรเล่ห์สระทรหวล. (ม. คำหลวง มหาพน).

คล้องจอง

หมายถึงก. สัมผัสกัน, มีเสียงสระเดียวกันหรือถ้ามีตัวสะกดก็ต้องอยู่ในมาตราเดียวกัน เช่น มี-ปี จันทร์-ฉัน การ-บาน; ไม่ขัดกัน เช่น พยานให้การคล้องจองกัน.

คำเป็น

หมายถึงน. คำสระยาวที่ไม่มีตัวสะกด และคำในมาตรา กง กน กม เกย เกอว.

เคลื่อนไหว

หมายถึงก. ไม่อยู่นิ่ง, ไม่คงที่, เช่น น้ำในสระเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเพราะกระแสลม; แสดงกิริยาหรือปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พรรคการเมืองเคลื่อนไหว.

วิสรรชนีย์

หมายถึง[วิสันชะนี] น. เครื่องหมายสระรูปดังนี้ ะ ใช้ประหลังอักษร. (ส. วิสรฺชนีย).

ก กา

หมายถึงน. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกดว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา.

(พื้น) 1.ผนังของบ่อ, 2 . ใช้อิฐก่อ (ผนังบ่อ,สระน้ำ)

ภาษาจีน

บังคับลหุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.

เสียบหนู

หมายถึงน. ไม้ที่เสียบขัดกับไม้ข้างควายที่ขนาบจากหลบหลังคาเรือน; ไม้ฝนทองที่เขียนบนพินทุอิ เป็น สระอี.

ฝนทอง

หมายถึงน. เครื่องหมายรูปสระ เป็นรูปรอยขีดเดียวดังนี้ ' สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็นสระ อี; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง.

บังคับครุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น รำ ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.