ค้นเจอ 11,424 รายการ

ปลอก

หมายถึง[ปฺลอก] น. สิ่งที่ทำเป็นวงสำหรับสวมหรือรัดของต่าง ๆ, เครื่องที่ทำสำหรับสวมสิ่งของต่าง ๆ เช่น ปลอกมีด ปลอกหมอน.

ปล้อง

หมายถึง[ปฺล้อง] น. ช่วงระยะระหว่างข้อของไม้ไผ่หรืออ้อย ฯลฯ, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอปล้อง คือ คอที่มีริ้วรอยเห็นเป็นปล้อง ๆ.

ปล่อย

หมายถึง[ปฺล่อย] ก. ทำให้ออกจากสิ่งที่ติดอยู่ ผูกอยู่ หรือข้องอยู่ เป็นต้น เช่น ปล่อยนักโทษ ปล่อยนก; ยอมให้ เช่น ปล่อยให้เข้ามา; ละเลย เช่น ปล่อยให้บ้านรกรุงรัง ปล่อยให้นํ้าล้น; (ปาก) โดยปริยายหมายถึง ขาย เช่น ที่ที่ซื้อไว้ปล่อยไปแล้วราคา ๕ ล้านบาท.

ปลัด

หมายถึง[ปะหฺลัด] น. ผู้มีตำแหน่งหน้าที่รองจากผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่เหนือตนโดยตรง เช่น ปลัดกระทรวง ปลัดจังหวัด; ตำแหน่งพระฐานานุกรมเหนือสมุห์.

ปลาบ

หมายถึง[ปฺลาบ] ว. อาการที่รู้สึกแล่นวาบเข้าหัวใจ เช่น เจ็บปลาบ เสียวปลาบ, โดยปริยายใช้เรียกโรคที่มีอาการเช่นนั้น.

ปลาบ

หมายถึง[ปฺลาบ] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Commelinaceae เช่น ชนิด Commelina benghalensis L. ดอกสีนํ้าเงิน, ชนิด Cyanotis axillaris Roem. et Schult. ดอกสีม่วง, ชนิด Murdannia nudiflora Brenan ดอกสีม่วงอ่อน.

ปลิ้น

หมายถึง[ปฺลิ้น] ก. กลับข้างในบางส่วนให้โผล่ออกมา เช่น ปลิ้นตา, โผล่ยื่นหรือทำให้โผล่ยื่นออกมาจากสิ่งที่มีอะไรห่อหุ้มอยู่ เช่น พุงปลิ้น ตาปลิ้น; (ปาก) ลักลอบหรือหลอกลวงเอาไปซึ่งหน้า เช่น ปลิ้นเอาเงินไป.

ปลีก

หมายถึง[ปฺลีก] ก. แยกหรือหลีกออกจากหมู่จากพวกไป, ย่อยออกไปจากส่วนใหญ่ เช่น ขายปลีก เงินปลีก.

ปะทะ

หมายถึงก. โดนกัน, กระทบกัน, เช่น เรือปะทะกัน ข้างเรือปะทะกัน, ประจัญกัน เช่น กองทัพปะทะกัน, ต้านไว้ เช่น ยกทัพไปปะทะข้าศึก.

ปัก

หมายถึงก. ตั้งฝังลง เช่น ปักเสา, เอาหัวดิ่งลง เช่น นกปักหัวลง เครื่องบินปักหัวลง; เสียบ เช่น ปักปิ่น ปักดอกไม้, ใช้เข็มร้อยด้าย ไหม หรือดิ้นเป็นต้นแล้วแทงลงไปบนผืนผ้าให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ปักลวดลาย ปักด้าย ปักไหม.

ปักษ,ปักษ-,ปักษ์

หมายถึง[ปักสะ-, ปัก] น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดำ หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).

ปัจจัย

หมายถึงน. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ “ปัจจัย” กับ คำ “เหตุ” มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร); (ไว) ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดงความหมายเป็นต้น. (ป.).