ค้นเจอ 426 รายการ

กรรมการ

หมายถึงบุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการทำงานของรัฐ ของเอกชน ขององค์การ ของบริษัท ห้าง ร้าน หรือการสาธารณกุศลเรียก กรรมการ.

กรรมคติ

หมายถึงทางดำเนินแห่งกรรม ทางดำเนินแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ สุคติไปดี ทุคติไปชั่ว คนทำความดีตายแล้วไปสู่สุคติ คือไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม คนทำความชั่วตายแล้วไปสู่ทุคติ คือไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย.

กรรมชา

หมายถึงผู้เกิดแต่กรรม คนที่สร้างกรรมดีไว้ เมื่อเกิดมาก็เกิดในพ่อแม่ที่ดี มีอวัยวะครบ ไม่ใบ้บ้าเสียจริต ผิดมนุษย์ มีสติปัญญาดี ถ้าสร้างกรรมไม่ดีก็เกิดมาในที่ตรงกันข้าม.

กรรมฐาน

หมายถึงที่ตั้งแห่งการงาน มี ๒ คือ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐานได้แก่อุบายสงบใจ วิปัสสนากรรมฐานอุบายเรื่องปัญญา.

กรรมวาจา

หมายถึงคำสวดในพิธีทำสังฆกรรม เช่น สวดกรรมวาจาในเวลาอุปสมบท.

กะไต

หมายถึงกรรไกร กรรไกรสำหรับตัดผมเรียก มีดกะไต มีดตะไก ก็ว่า.

อนันตริยกรรม

หมายถึงกรรมที่มีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตกนรกหมกไหม้หาระหว่างมิได้ อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำโลหิตุบาท (ป.).

กรรเกด

หมายถึง[กัน-] (กลอน) น. การะเกด เช่น จงกลกรรเกดแก้ว กรองมาลย์. (ทวาทศมาส).

กรรเจียก

หมายถึง[กัน-] น. เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้วแพรวพราว. (อิเหนา). [ข. ตฺรเจียก ว่าหู].

กรรชิด

หมายถึง[กัน-] (โบ; กลอน) ก. กระชิด เช่น สองกรกลเกียดเกี้ยว กรรชิด. (ลอ).

กรรแซง

หมายถึง[กัน-] (เลิก) น. กองทำหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตราเพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทำหน้าที่แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแซง).

กรรณ

หมายถึง[กัน] น. หู, ใบหู, กลอน ใช้เป็น กรรณา ก็มี เช่น กรรณาคือกลีบกาญจ- นปัทม์. (สมุทรโฆษ), ราชาศัพท์ใช้ว่า พระกรรณ. (ส. กรฺณ).