ตัวกรองผลการค้นหา
ยามกาลิก
หมายถึง[ยามะ-] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ นํ้าอัฐบาน. (ป.). (ดู กาลิก).
กรรมวาจา
หมายถึง[กำมะ-] น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (ส. กรฺม + วาจา = คำ; ป. กมฺม + วาจา).
ตรีรัตน์
หมายถึงน. แก้วทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์, โดยมากใช้ ไตรรัตน์. (ส. ตฺริรตน).
นิคหกรรม
หมายถึงน. ชื่อกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่ควรปราบเพื่อให้เข็ดหลาบ. (ป. นิคฺคหกมฺม).
ไทยทาน
หมายถึงของควรให้ ของควรถวายพระสงฆ์ได้แก่ปัจจัย 4 มีผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย ยาแก้ไข เรียก ไทยทาน ไทยธรรม ก็ว่า.
ดีฉาน
หมายถึง(โบ) ส. ดิฉัน, ดีฉัน, เป็นคำที่เจ้านายผู้ชายมักใช้กับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ไตรสรณาคมน์
หมายถึง[-สะระนาคม] น. การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.
สังฆเภท
หมายถึง[-เพด] น. การที่ภิกษุทำให้สงฆ์แตกหมู่แตกคณะออกไป, นับเป็นอนันตริยกรรมอย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕. (ป.).
จาตุรงคสันนิบาต
หมายถึงน. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คำสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).
ไตรสรณคมน์
หมายถึง[-สะระนะคม] น. การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.
ราชาศัพท์
หมายถึงน. คำเฉพาะใช้สำหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย, ต่อมาหมายรวมถึงคำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชนด้วย.
ทำบุญ
หมายถึงก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทำบุญทำกุศล ก็ว่า.