ค้นเจอ 11,424 รายการ

ประ

หมายถึง[ปฺระ] ก. ปะทะ เช่น ประหมัด, กระทบ, ระ, เช่น ผมประบ่า.

ประคอง

หมายถึงก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้มเป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวังไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.

ประชด

หมายถึงก. แกล้งทำให้เกินควรหรือพูดแดกดันเพราะความไม่พอใจ เช่น หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว พูดประชด, ประชดประชัน ก็ว่า, ในกลอนใช้ว่า ประทยด หรือ ประเทียด ก็มี.

ประณาม

หมายถึงก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม).

ประเดิม

หมายถึงก. เริ่มต้นหรือเริ่มแรกในการซื้อหรือขายเป็นต้น เช่น ประเดิมซื้อ ประเดิมขาย ประเดิมฝาก (มักใช้ในลักษณะที่เกี่ยวกับพิธีการหรือโชคลาง).

ประท้วง

หมายถึงก. กระทำการหรือแสดงกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการคัดค้านเพราะไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจอย่างยิ่ง เช่น อดข้าวประท้วง เขียนหนังสือประท้วง.

ประทุษร้าย

หมายถึง[ปฺระทุดสะ-] ก. ทำให้บาดเจ็บ เช่น ประทุษร้ายร่างกาย, ทำให้เสียหาย เช่น ประทุษร้ายทรัพย์สิน; (กฎ) ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ.

ประเทือง

หมายถึงก. ทำให้ดีขึ้น เช่น ประเทืองผิว, ทำให้รุ่งเรืองขึ้น เช่น ประเทืองปัญญา.

ประปราย

หมายถึงว. มีกระจายอยู่ห่าง ๆ เช่น ผมหงอกประปราย ผลไม้ติดประปราย, มีห่าง ๆ เป็นระยะ ๆ, เรี่ยราย, เล็กน้อย, เช่น ยิงกันประปราย.

ประภัสสร

หมายถึง[ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสงพระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตรสุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).

ประมวลกฎหมาย

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่รวบรวมกฎหมายในลักษณะเดียวกันไว้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร.

ประมาท

หมายถึง[ปฺระหฺมาด] ก. ขาดความรอบคอบ, ขาดความระมัดระวังเพราะทะนงตัว, เช่น เวลาขับรถอย่าประมาท; ดูหมิ่น เช่น ประมาทฝีมือ. น. ความเลินเล่อ, การขาดความระมัดระวัง, เช่น ขับรถโดยประมาท; (กฎ) กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่. (ส. ปฺรมาท; ป. ปมาท).