ค้นเจอ 252 รายการ

อสีตยานุพยัญชนะ

หมายถึง[อะสีตะยานุพะยันชะนะ] น. ลักษณะน้อย ๆ ในร่างกายของผู้ที่เป็นพระมหาบุรุษมี ๘๐ อย่าง คือ ผู้ที่จะเป็นพระมหาบุรุษต้องสมบูรณ์ด้วยลักษณะสำคัญ ๓๒ อย่าง ซึ่งเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ มีรอยพระบาทเป็นลายรูปจักรและอื่น ๆ ตามแบบเป็นต้น และสมบูรณ์ด้วยอสีตยานุพยัญชนะ. (ป.).

อิฉัน

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศหญิง เป็นคำสุภาพ, อีฉัน ก็ว่า, (แบบ) ผู้ชายใช้ว่า ดิฉัน หรือ ดีฉัน ผู้หญิงใช้ว่า อิฉัน หรือ อีฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

วิภัตติ

หมายถึง[วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).

พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือเพื่อสตรี และ บุรุษผู้ทำตามคำสอน

อาตมภาพ,อาตมา,อาตมา

หมายถึง[-พาบ, อาดตะมา] ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด สำหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ส. อาตฺมภาว, อาตฺมา).

ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้

ปฐมบุรุษ

หมายถึง[ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลีหมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.

ข้าพระพุทธเจ้า

หมายถึง[ข้าพฺระพุดทะเจ้า] ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดินหรือกราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

ท่าน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำกลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่าลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำที่ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์หรือตำแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.

เจ้าพระคุณ

หมายถึงส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี.

ชื่อขุนนางในสมัยโบราณ คำที่ใช้เรียกบุรุษ เป็นคำที่หญิงใช้เรียกสามีของตนหรือคู่รักของตน

ภาษาจีน

สารถี

หมายถึง[สาระถี] น. คนขับรถ, คนบังคับม้า, โดยปริยายหมายความว่า ผู้บังคับหรือฝึกหัด ในความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก. (ป., ส. สารถิ).