ค้นเจอ 11,424 รายการ

บานเย็น

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Mirabilis jalapa L. ในวงศ์ Nyctaginaceae รากอวบ ใบเดี่ยว โคนดอกเป็นหลอด ปลายบานเป็น ๕ แฉก บานในเวลาเย็น มีหลายสี เช่น ขาว แดงอมม่วง เหลือง รากใช้ทำยาได้. ว. สีแดงอมม่วง.

บ้าบ่น

หมายถึงน. เพลงไทย ๒ ชั้นของเก่า ใช้มโหรีเป็นเครื่องรับ ทำตอนเสี่ยง เช่น ตอนไกรทองเสกกระทงเสี่ยงลอยไปในพิธีจับชาละวัน, กระทงลอย หรือ กระทงน้อย ก็เรียก.

บ้าย

หมายถึงก. ป้าย, ทำให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีตบรรจง เช่น บ้ายปูน บ้ายพลู, ทำให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น เช่น เอามินหม้อบ้ายหน้า; ซัดความผิดให้ผู้อื่น ในความว่า บ้ายความผิดให้ผู้อื่น.

บายศรี

หมายถึงน. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ).

บาร์

หมายถึงน. ร้านขายเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ มักมีดนตรีและที่ให้ลูกค้าเต้นรำด้วย, สถานบริการเหล้าหรือเครื่องดื่มภายในบ้านเป็นต้น เช่น เปิดฟรีบาร์. (อ. bar).

บาล

หมายถึง(แบบ) ก. เลี้ยง, รักษา, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).

บ้าลำโพง

หมายถึงว. บ้าเพราะกินเมล็ดลำโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโหโกรธา เช่น พูดจาบ้าลำโพงโป้งไป. (คาวี), ทำโมโหโกรธาบ้าลำโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์. (พิเภกสอนบุตร).

บำรุง

หมายถึงก. ทำให้งอกงาม, ทำให้เจริญ, เช่น บำรุงต้นไม้ บำรุงบ้านเมือง; รักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี เช่น บำรุงสุขภาพ บำรุงร่างกาย เงินค่าบำรุง.

บำเหน็จ

หมายถึงน. รางวัล, ค่าเหนื่อย, ค่าความชอบเป็นพิเศษ, เช่น ปูนบำเหน็จ, เงินตอบแทนที่ได้ทำงานมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน; (กฎ) เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน.

บิ

หมายถึงก. ทำให้แตกออกหรือหลุดออกเป็นชิ้น ๆ ด้วยนิ้ว เช่น บิขนมปัง, แตกออกหรือหลุดออกด้วยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น.

บิณฑบาต

หมายถึงน. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานำมาใส่บาตร, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).

บิตุ

หมายถึง(แบบ) น. พ่อ, ใช้เป็นคำหน้าสมาส เช่น บิตุฆาต บิตุราช. (ป. ปิตุ).