ค้นเจอ 660 รายการ

เป็น ทำหน้าที่เป็น

ภาษาจีน充任

เป็น

ภาษาเกาหลี..이다

1ได้ ได้รับ 2 เป็น 3 เหมาะสม 4 ดีอกดีใจ 5 เสร็จ เสร็จสิ้น 6 ใช้ในขณะที่จบการสนทนา 7ใช้ในขณะที่สถานการณ์เลวร้าย

ภาษาจีน

วิจุณ

หมายถึงว. ป่น, แหลกละเอียด, มักใช้ประกอบท้ายคำ จุณ หรือ จุรณ เป็น จุณวิจุณ หรือ จุรณวิจุณ, เขียนเป็น วิจุรณ ก็มี. (ป. วิจุณฺณ; ส. วิจูรฺณ).

วิจุรณ

หมายถึง[วิจุน] ว. ป่น, แหลกละเอียด, มักใช้ประกอบท้ายคำ จุรณ เป็น จุรณวิจุรณ, เขียนเป็น วิจุณ ก็มี. (ส. วิจูรฺณ; ป. วิจุณฺณ).

วิ่น

หมายถึงว. ลักษณะอาการที่หลุด ขาด หรือลุ่ยออกกะรุ่งกะริ่ง เช่น จมูกแหว่งหูวิ่นเวทนา อนิจจานิจจาเป็นน่ากลัว. (สังข์ทอง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ขาด เป็น ขาดวิ่น เช่น เสื้อผ้าขาดวิ่น.

วิวาท

หมายถึงก. ทะเลาะ เช่น เด็กวิวาทกัน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ทะเลาะ เป็น ทะเลาะวิวาท. (ป., ส.).

เวท

หมายถึง[เวด] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลก ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตนหรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรกเรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวทเข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).

เวทมนตร์

หมายถึง[เวดมน] น. ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สำเร็จความประสงค์ เช่น โบราณใช้เวทมนตร์ในการรักษาโรคบางอย่าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คาถา เป็น เวทมนตร์คาถา เช่น เขาใช้เวทมนตร์คาถาล่องหนหายตัวได้.

ศักราช

หมายถึง[สักกะหฺราด] น. อายุเวลาซึ่งกำหนดตั้งขึ้นเป็นทางการ เริ่มแต่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นที่หมายเหตุการณ์สำคัญ เรียงลำดับกันเป็นปี ๆ ไป เช่น พุทธศักราช ๑, ๒, ๓, ... จุลศักราช ๑, ๒, ๓, ... (ตามความนิยมที่ใช้เป็นธรรมเนียมกันมา, คำ ศักราช ในคำเช่น พุทธศักราช คริสต์ศักราช จะใช้ว่า ศก เป็น พุทธศก คริสต์ศก ก็ได้ แต่คำเช่น มหาศักราช จุลศักราช ไม่นิยมใช้ว่า มหาศก จุลศก ส่วนคำว่า รัตนโกสินทรศก ไม่นิยมใช้ว่า รัตนโกสินทรศักราช), (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า ช่วงใดช่วงหนึ่งซึ่งเริ่มต้นเหตุการณ์สำคัญในชีวิตบุคคล เช่น เริ่มศักราชแห่งชีวิตใหม่ พอเรียนหนังสือจบก็เริ่มศักราชของการทำงาน.

สงฆ์

หมายถึงน. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคำ พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).

สดับ

หมายถึง[สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).