ค้นเจอ 20,525 รายการ

วยากรณ์

หมายถึงน. พยากรณ์. (ป., ส. วฺยากรณ).

วรณะ

หมายถึง[วะระนะ] น. ป้อม, กำแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.).

วัณณะ

หมายถึง(แบบ) น. สี, ผิว; ชนิด, อย่าง. (ป.; ส. วรฺณ). (ดู วรรณ-, วรรณะ).

วัณนา

หมายถึง[วันนะ-] น. คำชี้แจง, คำอธิบาย. (ป. วณฺณนา; ส. วรฺณนา). (ดู พรรณนา).

วัณโรค

หมายถึงน. โรคชนิดหนึ่งเกิดที่ปอดเป็นต้น ทำให้ร่างกายทรุดโทรมเสื่อมไปตามลำดับ, โบราณเรียกวัณโรคปอดว่า ฝีในท้อง.

วารณกร

หมายถึงน. งวงช้าง. (ส.).

วิจาร,วิจารณ,วิจารณ-,วิจารณ์

หมายถึง[วิจาน, วิจาระนะ-, วิจาน] ก. ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.

วิจารณญาณ

หมายถึง[วิจาระนะยาน] น. ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้องได้.

วิจุณ

หมายถึงว. ป่น, แหลกละเอียด, มักใช้ประกอบท้ายคำ จุณ หรือ จุรณ เป็น จุณวิจุณ หรือ จุรณวิจุณ, เขียนเป็น วิจุรณ ก็มี. (ป. วิจุณฺณ; ส. วิจูรฺณ).

วิจุรณ

หมายถึง[วิจุน] ว. ป่น, แหลกละเอียด, มักใช้ประกอบท้ายคำ จุรณ เป็น จุรณวิจุรณ, เขียนเป็น วิจุณ ก็มี. (ส. วิจูรฺณ; ป. วิจุณฺณ).

วิเศษณการก

หมายถึง[วิเสสะนะ-] (ไว) น. คำที่เรียงอยู่หลังบุรพบทที่ใช้เป็นบทเชื่อม เช่น รถของฉัน เขากินด้วยช้อนส้อม เขามาสู่บ้าน ถ้าละบุรพบทเสีย ก็อยู่ติดกับบทที่มันประกอบ เช่น รถฉัน เขากินช้อนส้อม เขามาบ้าน.

วิษณุ

หมายถึง[วิดสะนุ] น. พระนารายณ์. (ส.).