ภาษาไทย สำนวนไทย

สำนวนไทย หมวด ก-ฮ (ต่อ 2)

ต่อจากบทความที่แล้ว เรามาดูสำนวนไทยกันต่อในหมวด น. - ฮ.

 

สำนวนไทย หมวด น

# สำนวนไทย หมายถึง
227 นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ อาการที่สำเร็จอย่างรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง
228 นกกระปูด คนที่ชอบเปิดเผยความลับ
229 นกต่อ คนที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี).
230 นกรู้ ผู้ที่มีไหวพริบรู้เท่าทันเหตุการณ์หรือภัยที่จะมาถึงตน.
231 นกสองหัว คนที่ทําตัวฝักใฝ่เข้าด้วยทั้ง ๒ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรกันโดยหวังประโยชน์เพื่อตน
232 นอกคอก ประพฤติไม่ตรงตามแบบตามธรรมเนียมประเพณีของบรรพบุรุษ.
233 นอนหลับทับสิทธิ์ ไม่ใช้สิทธิ์ที่ตนมีอยู่เมื่อถึงคราวจะใช้, ทับสิทธิ์ ก็ว่า.
234 นายว่าขี้ข้าพลอย พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย.
235 นิ่งเป็นสิงโตหิน นิ่งเฉยไม่มีท่าทีใด ๆ
236 น้ำขึ้นให้รีบตัก เมื่อที่มีโอกาสก็รีบขว้าเอาไว้ก่อนที่จะไม่มีโอกาส
237 น้ำซึมบ่อทราย หาได้มาเรื่อย ๆ.
238 น้ำซึมบ่อทราย หาได้มาเรื่อย ๆ
239 น้ำตาตกใน เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ.
240 น้ำตาเป็นเผาเต่า ร้องไห้น้ำตาไหลพราก
241 น้ำท่วมปาก การรู้อะไรแล้วพูดไม่ได้ พูดไม่ออกไม่สามารถพูดออกมาได้ เพราะมีความจำเป็นบางอย่างหรือเพราะเกรงจะมีภัยมาถึงตนเองแก่ตนหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
242 น้ำน้อยแพ้ไฟ ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก.
243 น้ำผึ้งหยดเดียว เหตุที่เกิดเพียงเล็กน้อย
244 น้ำผึ้งเดือนห้า คนที่มีเสียงหวานไพเราะ
245 น้ำไหลไฟดับ เร็วและคล่อง (ใช้แก่กริยาพูด).
246 เนื้อไหนร้าย ให้ตัดทิ้งเสีย สั่งสอนแล้วไม่ทำตัวให้ดีขึ้น ก็ปล่อยไปตามเรื่องราว

 

สำนวนไทย หมวด บ

# สำนวนไทย หมายถึง
247 บนบานศาลกล่าว ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ นำของมาบนหรือสัญญาว่าจะทำเพื่อให้สิ่งศักสิทธิ์ช่วยเหลือเกื้อหนุน
248 บอกศาลา ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป.
249 บุญหนักศักดิ์ใหญ่ มีฐานันดรศักดิ์สูงและอํานาจวาสนายิ่งใหญ่ เช่น น้อยหรือนางบุญหนักศักดิ์ใหญ่. (สังข์ทอง).
250 บ่างช่างยุ คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน.
251 บ้วนน้ำลายแล้วกลืน พูดจากลับกลอก
252 บ้านนอกคอกนา บ้านนอกขอกนา.
253 บ้าหอบฟาง บ้าสมบัติ เห็นอะไร ๆ เป็นของมีค่าจะเอาทั้งนั้น, อาการที่หอบหิ้วสิ่งของพะรุงพะรัง.
254 เบี้ยหัวแตก เงินที่ได้มาไม่เป็นกอบเป็นกําแล้วใช้จ่ายหมดไปโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน.

สำนวนไทย หมวด ป

# สำนวนไทย หมายถึง
255 ปลากระดี่ได้น้ำ แสดงท่าทางดีใจจนเกินงาม
256 ปล่อยนกปล่อยปลา ทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะกุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์.
257 ปล่อยไก่ แสดงความโง่ออกมา
258 ปอกกล้วยเข้าปาก ง่าย, สะดวก.
259 ปัดสวะ [-สะหฺวะ] ก. ทําอย่างขอไปที, ผลักให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบของตนไป.
260 ปั้นน้ำเป็นตัว สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา.
261 ปากตลาด ถ้อยคําที่โจษหรือเล่าลือกัน เช่น ปากตลาดเขาว่ากันมาอย่างนี้. ปากจัด.
262 ปากตำแย อาการที่ปากอยู่ไม่สุข ชอบพูด ชอบฟ้อง, ปากคัน หรือ ปากบอน ก็ว่า.
263 ปากปราศัยน้ำใจเชือดคอ พูดดีแต่คิดร้าย
264 ปากปลาร้า ชอบพูดคําหยาบ.
265 ปากหอยปากปู ชอบนินทาเล็กนินทาน้อย; ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูดไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย).
266 ปากเปียกปากแฉะ ว่ากล่าวตักเตือนตลอดเวลาไม่หยุดหย่อน
267 ปากเหยี่ยวปากกา ภัยอันตราย.
268 ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม ยังเป็นเหมือนเด็กไม่มีความคิด เป็นการว่ากล่าวตำหนิคนที่ชอบอวดดี คิดว่าตนเองเก่งกว่าผู้อื่น
269 ปีกกล้าขาแข็ง พึ่งตัวเองได้, เป็นคําที่ผู้ใหญ่มักใช้กล่าวเชิงตําหนิติเตียนผู้น้อย.
270 เปิดหูเปิดตา ให้ได้ฟังและให้ได้เห็นมาก (มักใช้เกี่ยวกับการไปพักผ่อนหย่อนใจและหาความรู้ไปในตัว).
271 เป็นกอบเป็นกำ เป็นผลดี, เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ทำให้เป็นกอบเป็นกำ, เป็นก้อนใหญ่ ทําประโยชน์ต่อไปได้ดี เช่น ได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำ.
272 เป็นทองแผ่นเดียวกัน การที่ชายและหญิงแต่งงานกัน ทำให้ครอบครัวสองครอบครัวมีความแน่นแฟ้นผูกพันกัน

สำนวนไทย หมวด ผ

# สำนวนไทย หมายถึง
273 ผงเข้าตาตัวเอง เมื่อปัญหาหรือความเดือดร้อนเกิดแก่ผู้อื่น ช่วยแก้ไขให้เขาได้ แต่เมื่อเกิดแก่ตน กลับแก้ไขไม่ได้.
274 ผักชีโรยหน้า การทำความดีหรือกระทำการใดๆเพียงเพื่อให้ผู้อื่นเห็นว่างานเสร็จแล้ว เรียบร้อย สวยงาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งนั้นยังไม่สำเร็จเรียบร้อย
275 ผิดเป็นครู ผิดแล้วจำไว้จะได้ไม่ทำอีก
276 ผีถึงป่าช้า ต้องยอมทําด้วยความจําใจหรือไม่มีทางเลือก.
277 ผีไม่มีศาล ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
278 ผู้ชายพายเรือ ผู้ชายทั่วไป เช่น ผู้ชายพายเรืออยู่เต็มไป. (ขุนช้างขุนแผน), ผู้ชายรายเรือ ก็ว่า เช่น ดิฉันเป็นผู้หญิงสาว ไม่เหมือนผู้ชายรายเรือ. (มิตรสภา).
279 ผู้หญิงยิงเรือ ผู้หญิงทั่วไป เช่น ของพม่าเป็นเรื่องของพระอินทร์ ดูสนิทกว่าที่จะให้ผู้หญิงยิงเรือ, ผู้หญิงริงเรือ ก็ว่า เช่น เห็นผู้หญิงริงเรือที่เนื้อเหลือง. (อภัย).
280 ผ้าขี้ริ้วห่อทอง ผู้ที่มีฐานะร่ำรวย แต่ทำตัวสมถะหรือแต่งตัวซ่อมซ่อ

สำนวนไทย หมวด ฝ

# สำนวนไทย หมายถึง
281 ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทําการอันใดที่เป็นสิ่งสําคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป, นํ้าสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน ก็ว่า.
282 ฝันกลางวัน นึกฝันถึงสิ่งที่ไม่อาจเป็นจริงได้.
283 ฝากผีฝากไข้ ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย.

สำนวนไทย หมวด พ

# สำนวนไทย หมายถึง
284 พกนุ่น ใจเบา, ใช้เข้าคู่กับคำ พกหิน ในสำนวนว่า พกหินดีกว่าพกนุ่น.
285 พระยาเทครัว ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้อง.
286 พริกกะเกลือ กับข้าวชนิดหนึ่งเอามะพร้าวตําจนมีนํ้ามันออกมา ใส่เกลือกับนํ้าตาล มีรสหวานเค็ม, เครื่องจิ้มผลไม้เปรี้ยวเป็นต้น ทำด้วยพริก เกลือ และน้ำตาล.
287 พร้าขัดหลังเล่มเดียว คนดีถ้าขยันก็ตั้งตัวได้
288 พลิกแผ่นดิน เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบหรือวิธีการปกครองแผ่นดิน. ว. อาการที่ตามหาเท่าไร ๆ ก็ไม่พบ เช่น หาจนพลิกแผ่นดิน.
289 พอลืมตาอ้าปาก พอมีพอกิน
290 เพชรตัดเพชร คนเก่งต่อเก่งมาสู้กัน.
291 แพแตก ลักษณะที่ครอบครัวเป็นต้นแตกกระจัดกระจายแยกย้ายกันไปเพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้เป็นหลักเป็นประธานประสบความวิบัติหรือเสียชีวิต.

สำนวนไทย หมวด ฟ

# สำนวนไทย หมายถึง
292 ฟังความข้างเดียว เชื่อถือแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง.
293 ฟังหูไว้หู การรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ แต่ไม่เชื่อทั้งหมดในทันที แต่รับฟังไว้ก่อนแล้วจึงพิจารณาในภายหลังว่าสิ่งนั้นเชื่อถือได้หรือไม่
294 ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ รู้ที่ต่ำที่สูง รู้อะไรควรไม่ควร
295 ไฟสุมขอน ไฟที่คุกรุ่นอยู่ในขอนไม้ขนาดใหญ่ ดับยาก, โดยปริยายหมายถึงอารมณ์รัก โกรธ หรือแค้นเป็นต้นที่ร้อนรุ่มอยู่ในใจ.
296 ไฟไหม้ฟาง อารมณ์ที่เกิดขึ้นอย่างวู่วาม สักพักก็หาย

สำนวนไทย หมวด ภ

# สำนวนไทย หมายถึง
297 ภูเขาเลากา มากมายก่ายกอง

สำนวนไทย หมวด ม

# สำนวนไทย หมายถึง
298 มะนาวไม่มีน้ำ พูดห้วน ๆ.
299 มัดมือชก บังคับหรือใช้วิธีการใด ๆ ให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในภาวะจำยอมโดยไม่มีทางต่อสู้.
300 มาเหนือเมฆ มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น; มาหรือปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย.
301 มืดแปดด้าน นึกไม่เห็น, คิดไม่ออก, จนปัญญาไม่รู้จะหาทางออกได้อย่างไร, เช่น ตอนนี้รู้สึกมืดแปดด้านไปหมด.
302 มือซุกหีบ เข้าไปยุ่งเกี่ยว รับภาระหรือยุ่งเรื่องอื่นที่ไม่ใช่ภาระของตนเอง
303 มือที่สาม บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้องในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยกหรือบ่อนทำลาย.
304 มือสะอาด มีความประพฤติดี, มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวง.
305 มือใครยาวสาวได้สาวเอา แข่งกันในการเอาผลประโยชน์
306 ม้วนเสื่อ เสียการพนันจนหมดตัว; เลิกกิจการเพราะขาดทุนจนไม่สามารถดําเนินกิจการนั้นต่อไปได้.
307 ม้าดีดกระโหลก กิริยากระโดกกระเดก ไม่เรียบร้อย
308 ไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่พิจารณาให้รอบคอบ.
309 ไม่ตายก็คางเหลือง ป่วยหรือบาดเจ็บมากจนแทบเสียชีวิต, มักใช้ว่า ไม่ตายก็คางเหลือง.
310 ไม้งามกระรอกเจาะ หญิงสวยที่ไม่บริสุทธิ์.
311 ไม้หลักปักเลน โลเล, ไม่แน่นอน, เช่น เหมือนไม้หลักปักเลนเอนไปมา. (สังข์ทอง).
312 ไม้ใกล้ฝั่ง แก่ใกล้จะตาย.

สำนวนไทย หมวด ย

# สำนวนไทย หมายถึง
313 ยกภูเขาออกจากอก โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป.
314 ยกยอปอปั้น ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง.
315 ยกเค้า เอาต้นทุนหรือกองทุนไปหมด (ใช้แก่การพนัน) เช่น แทงยกเค้า; ขโมยทรัพย์สินไปหมด เช่น เขาถูกยกเค้า.
316 ยกเมฆ เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหา...
317 ยืนกระต่ายขาเดียว พูดยืนยันอยู่คําเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว.
318 ยืมจมูกคนอื่นหายใจ อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือนทำด้วยตนเอง, พึ่งจมูกคนอื่นหายใจ หรือ เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ ก็ว่า.
319 ยื่นหมูยื่นแมว แลกกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน.
320 ยุแยงตะแคงรั่ว ยุให้ทั้ง ๒ ฝ่ายแตกกัน.
321 แย้มปากเห็นไรฟัน เพียงแต่พูดก็รู้ความหมาย

สำนวนไทย หมวด ร

# สำนวนไทย หมายถึง
322 รักนักมักหน่าย รักกันสนิทสนมกันมากก็ขาดความเกรงใจกัน
323 รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี หากลูกทำผิดก็ควรอบรมสั่งสอน ดุด่าว่ากล่าว และลงโทษเมื่อกระทำความผิดตามสมควร
324 รัดเข็มขัด ประหยัด เช่น ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนต้องรัดเข็มขัด.
325 รีดเลือดกับปู การบังคับขู่เข็ญเพื่อเอาผลประโยชน์กับผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะให้สิ่งที่ต้องการได้ เช่น การรีดไถเงินจากคนที่มีความยากจน
326 รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เขลา, คาดไม่ถึงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น, เช่น รับฝากของโจรไว้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าของนั้นเป็นของโจร.
327 รู้เห็นเป็นใจ รู้เห็นเหตุการณ์และให้ความร่วมมือร่วมใจด้วย เช่น เขารู้เห็นเป็นใจกับโจร.
328 รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม เรียนรู้ไว้ไม่หนักเรี่ยวหนักแรงหรือเสียหายอะไร
329 ร่มโพธิ์ร่มไทร ที่พึ่ง, ผู้ที่ให้ความคุ้มครองและความอบอุ่นใจ, เช่น พ่อแม่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูก.
330 ร้อนตัว กลัวว่าโทษหรือความเดือดร้อนจะมาถึงตัว.

 

 

 

สำนวนไทย หมวด ฤ

ไม่มีสำนวนไทยในหมวด ฤ.

 

สำนวนไทย หมวด ล

# สำนวนไทย หมายถึง
331 ลงเรือลำเดียวกัน ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำด้วยกัน.
332 ลงแขก ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตามความจำเป็นของแต่ละบ้าน; รุมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง.
333 ลับลมคมใน ความลับ, สิ่งที่เปิดเผยไม่ได้อยู่ภายใน, สิ่งที่ปกปิดเอาไว้
334 ลางเนื้อชอบลางยา ของสิ่งเดียวกัน แต่คนหลาย ๆ คนจะชอบของชิ้นนี้มากน้อยไม่เท่ากัน เพราะรสนิยมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
335 ลิงหลอกเจ้า ล้อหลอกผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่เผลอ.
336 ลูกศิษย์มีครู คนมีครูย่อมมีเกียรติ
337 ล้มหมอนนอนเสื่อ ป่วยจนต้องนอนรักษาตัว
338 เลือดข้นกว่าน้ำ ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น.
339 เล็กพริกขี้หนู เล็กแต่เก่งกล้าสามารถมาก, เล็กแต่มีพิษสง.

สำนวนไทย หมวด ว

# สำนวนไทย หมายถึง
340 วัดรอยตีน เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดีชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า.
341 วัวพันหลัก อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.
342 วัวแก่กินหญ้าอ่อน ชายแก่ได้หญิงสาวเป็นภรรยา
343 ว่านอนสอนง่าย อยู่ในโอวาท, เชื่อฟังคำสั่งสอนโดยดี.
344 ว่าวติดลม ว่าวที่ลอยกินลมอยู่ในอากาศ. ว. เพลินจนลืมตัว.
345 ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง การต่อว่าผู้อื่นว่าทำในสิ่งผิด แต่ตนเองกับประพฤติผิดแบบนั้นซะเอง

สำนวนไทย หมวด ศ

# สำนวนไทย หมายถึง
346 ศรศิลป์ไม่กินกัน (กลอน) ก. ทําอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.
347 ศิษย์มีครู คนเก่งที่มีครูเก่ง.

สำนวนไทย หมวด ส

# สำนวนไทย หมายถึง
348 สมน้ำสมเนื้อ พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อกันดีแล้ว.
349 สวมหัวโขน เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ.
350 สวมเขา ทำความอัปยศให้แก่สามีด้วยการมีชู้โดยที่สามีไม่รู้ระแคะระคาย
351 สองหน้า ชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. ว. ที่ทําตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ.
352 สองหัวดีกว่าหัวเดียว ร่วมกันคิด ร่วมกันปรึกษา
353 สอดรู้สอดเห็น เที่ยวเข้าไปรู้ในเรื่องของคนอื่น (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ใครเขาจะทำอะไรกันที่ไหน ก็เที่ยวไปสอดรู้เขาหมด เขาเป็นคนช่างสอดรู้สอดเห็น มีเรื่องของชาวบ้านมาเล่าเสมอ.
354 สอนลูกให้เป็นโจร ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลายเป็นโจร.
355 สันหลังยาว เรียกคนเกียจคร้านเอาแต่นอนว่า ขี้เกียจสันหลังยาว หรือใช้สั้น ๆ ว่า สันหลังยาว ก็มี, ขี้เกียจหลังยาว ก็ว่า.
356 สาดโคลน ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่นให้มัวหมอง
357 สาวไส้ให้กากิน การนำความลับหรือเรื่องเลวร้ายไปบอกให้คนอื่นรู้ ซึ่งไม่ก่อประโยชน์ให้กับใคร แต่ผู้ที่ได้รับฟังกลับได้ล่วงรู้ความลับต่างๆ สำนวนนี้มักจะใช้สื่อถึงการบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่ดี และมักจะมีคู่กรณีที่ต่างคนต่างแฉกันและกัน
358 สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น การบอกเล่าบอกต่อผ่านคนมามากๆ ก็ไม่เท่ากับเราได้เห็นด้วยตาตนเอง อย่าเพิ่งไปเชื่อสิ่งที่คนบอกต่อ ๆ กันมา จะจริงหรือไม่ต้องไปสัมผัสไปเห็นด้วยตัวเอง
359 สิบแปดมงกุฎ เหล่าเสนาวานรของกองทัพพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ มี ๑๘ ตน; โดยปริยายหมายถึงพวกมิจฉาชีพที่ทำมาหากินโดยใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายหลอกลวงผู้อื่น.
360 สิ้นเนื้อประดาตัว ไม่มีทรัพย์สมบัติเหลือติดตัว เช่น เขากลายเป็นคนสิ้นเนื้อประดาตัวเพราะหมกมุ่นในการพนัน กิจการค้าของเขาล้มเหลวจนสิ้นเนื้อประดาตัว.
361 สุกเอาเผากิน อาการที่ทำลวก ๆ, อาการที่ทำพอเสร็จไปคราวหนึ่ง ๆ เช่น เขาทำงานสุกเอาเผากิน พอให้พ้นตัวไป.
362 สู้ยิบตา สู้จนถึงที่สุด, สู้ไม่ถอย, เช่น เขาสู้ยิบตาแม้ว่าจะสะบักสะบอมเพียงใดก็ไม่ยอมแพ้. (กร่อนมาจากสำนวนเกี่ยวกับการตีไก่ซึ่งถูกตีจนต้องเย็บตาว่า สู้จนเย็บตา).
363 สู้เหมือนหมาจนตรอก ฮึดสู้เพราะไม่มีทางหนี เช่น พอจนมุมเข้า เขาก็สู้เหมือนหมาจนตรอก.
364 เสือกระดาษ ประเทศ องค์การ หรือผู้ที่ทําท่าทีประหนึ่งมีอํานาจมากแต่ความจริงไม่มี.
365 เสือซ่อนเล็บ ดูไม่มีอะไรน่ากลัวหรือมีอะไรโดดเด่น แต่แท้จริงแล้วอาจแอบซ่อนความสามารถ ที่ไม่ยอมแสดงออกมาให้ไครรู้
366 เสือนอนกิน คนที่ได้รับผลประโยชน์หรือผลกําไรโดยไม่ต้องลงทุนลงแรง.
367 เสือลำบาก เสือที่ถูกทำร้ายบาดเจ็บ มีความดุร้ายมากกว่าปรกติ, โดยปริยายหมายถึงคนที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
368 ใส่หน้ากาก แสดงทีท่าหรือกิริยาอาการที่มิได้เกิดจากนิสัยใจจริง, แสดงกิริยาท่าทีลวงให้เข้าใจผิด, เช่น ต่างคนต่างใส่หน้ากากเข้าหากัน, สวมหน้ากาก ก็ว่า.
369 ไส้แห้ง ยากจน, อดอยาก.

สำนวนไทย หมวด ห

# สำนวนไทย หมายถึง
370 หงายเก๋ง แพ้ราบคาบ แบบหมดรูป สู้ไม่ได้
371 หญ้าปากคอก ดู ตีนกา ๓.
372 หนอนบ่อนไส้ ฝ่ายตรงข้ามที่เข้ามาทำทีเป็นพวกเพื่อบ่อนทำลาย.
373 หนอนหนังสือ คนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ.
374 หนักเอาเบาสู้ ขยันขันแข็งไม่เกี่ยงงาน
375 หนักแผ่นดิน ไม่รู้คุณของแผ่นดินที่อาศัย, ทรยศต่อบ้านเมืองของตน, เสนียดสังคม.
376 หนังหน้าไฟ ผู้ได้รับความเดือดร้อนก่อนผู้อื่น เช่น ลูกทำความผิดมา พ่อแม่ก็ต้องเป็นหนังหน้าไฟ.
377 หนามยอกอก คนหรือเหตุการณ์ที่ทําให้รู้สึกเหมือนมีอะไรมาทิ่มแทงอยู่ในอกตลอดเวลา.
378 หนีร้อนมาพึ่งเย็น หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่มีความสงบสุข
379 หนีเสือปะจระเข้ หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่งแล้วต้องพบภัยอันตรายอีกอย่างหนึ่ง
380 หนูตกถังข้าวสาร ชายที่ฐานะไม่ค่อยดี ยากจน แต่งงานกับหญิงที่ร่ำรวยและมั่งคั่งกว่าตัว
381 หนูติดจั่น จนปัญญา, หาทางออกไม่ได้.
382 หน้าฉาก ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขาเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก.
383 หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง ความลับรักษาได้ยาก
384 หน้าเป็นม้าหมากรุก หน้างอแสดงความโกรธ
385 หน้าเลือด ชอบแสวงหาประโยชน์โดยวิธีบังคับให้จำยอมเพราะเห็นแก่ตัว เช่น เขาเป็นเจ้าหนี้หน้าเลือด, หน้าโลหิต ก็ว่า.
386 หน้าใหญ่ใจโต มีใจกว้างใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัวเพื่ออวดมั่งมี เช่น เขาชอบทำหน้าใหญ่ใจโตทั้ง ๆ ที่มีเงินน้อย.
387 หมองูตายเพราะงู ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้.
388 หมาจนตรอก คนที่ฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางเลือก ในสำนวนว่า สู้เหมือนหมาจนตรอก.
389 หมาหยอกไก่ เรียกอาการที่ชายหยอกล้อหญิงในทำนองชู้สาวเป็นทีเล่นทีจริง.
390 หมาหัวเน่า ไม่มีไครเอาไม่มีไครต้อการ โดนรังเกียจ ไม่มีไครอยากคบด้วย
391 หมาหางด้วน คนที่ทําอะไรผิดพลาดจนได้รับความอับอายแล้วชวนให้ผู้อื่นทําตามโดยยกย่องการกระทํานั้นว่าดี ควรเอาอย่าง.
392 หมาเห่าใบตองแห้ง คนที่ทำตัวเองเหมือนมีความเก่งกล้าสามารถ แต่จริงแล้วเป็นคนที่ขี้ขลาดไม่กล้าจริงอย่างที่พูด
393 หมาในรางหญ้า คนที่หวงแหนสิ่งที่ตนเองกินหรือใช้ไม่ได้ แต่ไม่ยอมให้คนอื่นกินหรือใช้, หมาหวงราง ก็ว่า.
394 หมูไปไก่มา ลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันด้วยการให้สิ่งของแลกเปลี่ยนหรือตอบแทนซึ่งกันและกันเป็นต้น
395 หวังน้ำบ่อหน้า ของที่ได้แน่นอนแล้วไม่เอา กลับไปคาดหวังกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
396 หอกข้างแคร่ การมีศัตรูอยู่ใกล้ตัวเช่นคนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้
397 หัวกะทิ ดีเด่นเป็นพิเศษ
398 หัวหกก้นขวิด อาการที่ทำอะไรตามความพอใจอย่างเต็มที่
399 หัวหมอ เจ้าเล่ห์อ้างนู่อ้างนี่ไปเรื่อย ฉลาดแกมโกง
400 หัวหลักหัวตอ มองข้ามในบางเรื่องว่าไม่สำคัญ แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
401 หัวเดียวกระเทียมลีบ ตัวคนเดียว อยู่คนเดียว ไม่มีเพื่อนฝูง
402 หัวเรือใหญ่ ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการสั่งการทำกิจการต่าง ๆ
403 หัวแก้วหัวแหวน รักใคร่เอ็นดูมาก
404 หัวไม่วาง หางไม่เว้น ถูกเรียกใช้ โดนใช้งานอย่างหนักอยู่ตลอด ไม่ได้ว่างเว้น
405 หามรุ่งหามค่ำ หักโหมทั้งวันทั้งคืน
406 หายใจไม่ทั่วท้อง ไม่สบายใจเพราะเป็นกังวล เช่น เขาหายใจไม่ทั่วท้องขณะต้องเสี่ยงขับรถไปบนสะพานชำรุด
407 หาเช้ากินค่ำ หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ
408 หูเบา เชื่อคนง่าย

สำนวนไทย หมวด อ

# สำนวนไทย หมายถึง
409 ออกลาย เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจากที่แสร้งทําดีมาแล้ว
410 อ้าปากเห็นลิ้นไก่ คือรู้ทันกันรู้ทันสิ่งที่จะทำ
411 เอาข้างเข้าถู ไม่ใช้เหตุผล ดื้อดันจะเอาชนะให้ได้ เอาสีข้างเข้าถู ก็ว่า
412 เอาน้ำลูบท้อง อดทนในยามยามโดยกินน้ำแทนข้าว
413 เอาปูนหมายหัว ผูกอาฆาตไว้ คาดโทษไว้ เชื่อแน่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้

สำนวนไทย หมวด ฮ

ไม่มีสำนวนไทยในหมวด ฮ.

 

ย้อนกลับไปที่ สำนวนไทย หมวด ก-ฮ หน้าแรก

 

หากหาสำนวนไหนไม่เจอ สามารถกดค้นหาสำนวนไทย แล้วพิมพ์ค้นหาได้เลย