สำนวนไทย

สำนวนไทย หมวด ง

สำนวนไทย หมวด ง ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

รวมสำนวนไทย หมวด ง

สำนวนไทย หมวด ง ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. งงเป็นไก่ตาแตก หมายถึง งงมากจนทำอะไรไม่ถูก ไม่รู้จะทำยังไง
  2. งอมพระราม หมายถึง มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ ถูกกระทำอย่างหนักหน่วง เช่น เจ้าของโครงการคอนโดนี้วางแผนสร้างคอนโดที่ทันสมัยที่สุด หรูที่สุด ซึ่งใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากทำให้หมุนเงินไม่ทันสุดท้ายผู้รับเหมาแต่ละรายก็เลยงอมพระรามไปตาม ๆ กัน
  3. งอมืองอตีน หมายถึง คนที่เกียจคร้าน วัน ๆ ไม่ทำอะไร ไม่สนใจขวนขวายการทำงาน
  4. งอมแงม หมายถึง เลิกได้ยาก
  5. งู ๆ ปลา ๆ หมายถึง รู้นิด ๆ หน่อย ๆ
  6. งูกินหาง หมายถึง พัวพันเกี่ยวโยงกันไปเป็นทอด ๆ จนหาที่สิ้นสุดไม่ได้
  7. งูจงอางหวงไข่ หมายถึง รักหวง ปกป้องลูกของตัวเองถึงที่สุด ไม่ยอมให้ใครมาทำร้ายได้ง่าย ๆ
  8. งูถูกตีขนดหาง หมายถึง ถูกทำในจุดสำคัญทำให้รู้สึกเจ็บปวด และแค้นเคืองมาก
  9. ง่วงเหงาหาวนอน หมายถึง มีอาการซึมเซาอยากนอนมาก เหมือนพักผ่อนได้ไม่เต็มที่
  10. ง่อยเปลี้ยเสียขา หมายถึง มีร่างกายพิการจนเดินไม่ได้อย่างปกติ
  11. เงยหน้าอ้าปาก หมายถึง การมีฐานะที่ดีขึ้นกว่าเดิม ดูแลตัวเองได้ไม่เดือดร้อน มีฐานะที่พอทัดเทียมกับเพื่อนได้
  12. เงาตามตัว หมายถึง ไปด้วยกันเสมอ
  13. เงียบเป็นเป่าสาก หมายถึง ลักษณะที่เงียบสนิท หรือสถานการณ์ที่ไม่มีใครพูดอะไร ไม่มีเสียงอะไร
  14. เงื้อง่าราคาแพง หมายถึง การกระทำที่รีรอ ดูเหมือนจะทำแต่ไม่ทำซักที
  15. โง่เง้าเต่าตุ่น หมายถึง คนที่โง่มาก ๆ
  16. โง่แกมหยิ่ง หมายถึง โง่แล้วยังอวดฉลาด อวดดีทั้ง ๆ ที่โง่

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "สำนวนไทย หมวด ง"