พุทธสุภาษิต

พุทธสุภาษิต หมวด ผ (หน้าที่ 2)

  1. ผู้มีปัญญานั้น ย่อมเล็งเห็นกามคุณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นโรค, ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกาม อันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่ได้
  2. ผู้มีปัญญาย่อมไม่ขอเลย
  3. ผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนมาก
  4. ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น
  5. ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบ อันเกิดจากเนกขัมมะ เทวดาทั้งหลายก็พอใจ ต่อผู้มีปัญญา ผู้รู้ดีแล้ว และ ผู้มีสติเหล่านั้น
  6. ผู้มีปัญญาเหล่าใด ประกอบด้วยศึล ยินดีในความสงบด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาเหล่านั้น เว้นไกลจากความชั่วแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
  7. ผู้มีปิติในธรรม อยู่เป็นสุข
  8. ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย
  9. ผู้มีภูมิปัญญาย่อมไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่นหรือตนเอง ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชา ในท่ามกลางชุมชน ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ
  10. ผู้มีศรัทธา มีปัญญา ตั้งในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล แม้คนเดียว ย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติ และ พวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธา
  11. ผู้มีศรัทธาประกอบด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยศและโภคะ จะไปสู่ถิ่นใด ๆ ก็มีคนบูชาในถิ่นนั้น ๆ
  12. ผู้มีศีลย่อมได้มิตรมาก ด้วยความสำรวม ส่วนผู้ไม่มีศีล ประพฤติชั่ว ย่อมแตกจากมิตร
  13. ผู้มีสติย่อมหลีกออก ท่านไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านย่อมละที่อยู่ได้ ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น
  14. ผู้มึนเมาด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
  15. ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบากที่จะได้ประโยชน์นั้น
  16. ผู้รักษา ควรมีสติรักษา
  17. ผู้รู้จักควบคุมจิตใจ จะพ้นไปได้จากบ่วงของมาร
  18. ผู้รู้จักประโยชน์แล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  19. ผู้รู้ย่อมสรรเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั่นแล
  20. ผู้ละปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรม ที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
  21. ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ไม่สำคัญตนว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญตนว่าต่ำกว่าเขาในโลก, ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีกิเลศเครื่องฟูขึ้น
  22. ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดพูด ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น
  23. ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข
  24. ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย จึงควรอยู่ในราชการ
    คำบาลี อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ สุสํวิหิตกมฺมนฺโต ส ราชวสตึ วเส
  25. ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
  26. ผู้อิ่มในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
  27. ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
  28. ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม
  29. ผู้เกิดความโกรธแล้ว เป็นผู้ฉิบหาย
  30. ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
  31. ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีความเคารพตนเอง
  32. ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว หลับและตื่นย่อมเป็นสุข
  33. ผู้เที่ยวสมาคมกับคนพาล ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
  34. ผู้เป็นคนขัดเคืองเหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และ ไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
  35. ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ไม่พึงลุอำนาจของโลภะ พึงกำจัดใจที่ละโมภเสีย
  36. ผู้เป็นใหญ่ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ย่อมตกจากอำนาจ
  37. ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย
  38. ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลอง ฉันใด, ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปเช่นกัน ฉันนั้น
  39. ผู้เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นควมไม่ประมาทเป็นความปลอดภัยแล้ว พึงเจริญมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นพุทธาศาสนี
  40. ผู้แพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์
  41. ผู้แพ้.. ย่อมอยู่เป็นทุกข์
  42. ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
  43. ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาของตนได้
  44. ผู้โกรธ ย่อมไม่รู้อรรถ
  45. ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
  46. ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
  47. ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม, ความโลภ เข้าครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
  48. ผู้ใด ต้องการสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น, ผู้นั้นชื่อว่าพัวพันไปด้วยเวร ย่อมไม่พ้นจากเวร
  49. ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย เป็นเครื่องให้รู้ความได้และเป็นคำจริง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์
  50. ผู้ใด ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น รู้จักอินทรีย์ 6 ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความซื่อตรง และ ความอ่อนโยน ล่วงกิเลสเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมด เที่ยวไป, ผู้นั้น เป็นธีรชน ย่อมไม่ติดในสิ่งที่เห็นแล้ว และ ได้ฟังแล้ว
  51. ผู้ใด วิญญูชนพิจารณาดูอยู่ทุกวัน ๆ แล้วกล่าวสรรเสริญ ผู้นั้น ใครเล่าจะควรติเตียนเขาได้
  52. ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
  53. ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนแต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย
  54. ผู้ใด แม้หากมิได้กระทำความชั่ว แต่คบหาเกลือกกลั้วกับผู้กระทำบาป ผู้นั้นย่อมพลอยถูกระแวงในกรรมชั่ว อีกทั้งเสียงเสื่อมเสียย่อมเกิดขึ้นแก่เขา
  55. ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลก และเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก, ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก, ชื่อว่าไม่เศร้าโศก ไม่ยินดี
  56. ผู้ใดจักสำรวมจิตที่ไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีกายเป็นที่อาศัย, ผู้นั้นจักพ้นจากเครื่องผูกมารได้
  57. ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้ได้บอกแล้ว ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ เหมือนพ่อค้า ถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น
  58. ผู้ใดช้าในการที่ควรช้า และ รีบในการที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาด ย่อมถึงสุข เพราะการจัดทำโดยแยบคาย
  59. ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้, ผู้นั้นถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข
  60. ผู้ใดทำ ราคะ โทสะ มานะ และ มักขะ ให้ตกไป เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม, เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์
  61. ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์พี่น้อง พ่อแม่ ผู้นั้นมีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา
  62. ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ ด้วยกรรมดี ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
  63. ผู้ใดทำการโดยรู้ประมาณ ทราบชัดถึงกำลังของตน แล้วคิดการเตรียมไว้รอบคอบ ทั้งโดยแบบแผนทางตำรา ทั้งโดยการปรึกษาหารือ และโดยถ้อยคำที่ใช้พูดอย่างดี ผู้นั้นย่อมทำการสำเร็จ มีชัยอย่างไพบูลย์
  64. ผู้ใดทำความชั่วด้วยสำคัญตัวว่า เราเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ครั้นทำแล้ว ก็ไม่หวั่นเกรงต่อคนทั้งหลาย ผู้นั้นจะดำรงชีพอยู่ยืนยาวด้วยความชั่วนั้นก็หาไม่ แม้เทพทั้งหลาย ก็มองดูเขาด้วยนัยน์ตาอันเหยียดหยาม
  65. ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละ ความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน
  66. ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือนร้อนในภายหลัง ดุจมานพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น
  67. ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์, ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม 3 อย่าง
  68. ผู้ใดปราศจากการติดในกามทั้งปวง ล่วงฌานอื่นได้แล้ว อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อันประเสริฐ ผู้นั้นจะพึงอยู่ในอากิญจัญญานตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อม
  69. ผู้ใดผูกอาฆาตว่า เขาได้ด่าเรา เขาได้ฆ่าเรา เขาได้ชนะเรา เขาได้ลักของของเรา ดังนี้ เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ
  70. ผู้ใดพอใครถามถึงทุกข์ของตน ก็บอกเขาเรื่อยไป ทั้งที่มิใช้กาลอันควร ผู้นั้นจะมีแต่มิตรชนิดเจ้าสำราญ ส่วนผู้หวังดีต่อเขาก็มีแต่ทุกข์
  71. ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก, เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้สงบ ไม่มีกิเลสดุจควันไฟ ไม่มีทุกข์ ปราศจากตัณหา ข้ามชาติชราได้
  72. ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าผู้ทรงธรรม
  73. ผู้ใดมักหวาดสะดุ้งต่อเสียง เหมือนเนื้อทรายในป่า ท่านเรียกผู้นั้นว่ามีจิตเบา, พรตของเขาย่อมไม่สำเร็จ
  74. ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้นเป็นคนเลว
  75. ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้มีปัญญา หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า เถระ
  76. ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรมครอบคลุม เหมือนย่านทรายคลุมไม้สาละ ผู้นั้นชื่อว่าทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว
  77. ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของพระชินเจ้า ผู้นั้นชื่อว่าให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม, บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท
  78. ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่า
  79. ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า เจริญเมตตาไม่มีประมาณ, สังโยชน์ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้นย่อมเบาบาง
  80. ผู้ใดยกย่องตน และดูหมิ่นผู้อื่น เป็นคนเลว เพราะการถือตัวเอง พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
  81. ผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง ท่านเรียกผู้นั้นว่าสมณะ เพราะเป็นผู้ระงับบาปทั้งหลายได้
  82. ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันได้รับการรักษาด้วย
  83. ผู้ใดรีบในกาลที่ควรช้า และ ช้าในกาลที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมถึงทุกข์ เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย
  84. ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษ และ ของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีเทวดา และ มนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือเครื่องข้องได้ และ เป็นมุนี
  85. ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงละเมิด 1 ผู้ใดย่อมรับรู้โทษ ที่เขามาสารภาพ 1 คนทั้งสองนี้ย่อมพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น มิตรภาพของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย
  86. ผู้ใดละมานะ มีตนตั้งมั่นดีแล้ว มีใจดี หลุดพ้นในที่ทั้งปวง อยู่ในป่าคนเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท, ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยู
  87. ผู้ใดสรรเสริญคนควรติ หรือติคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นย่อมเก็บโทษของตนไว้ด้วยปาก เขาไม่ได้สุขเพราะโทษแห่งปากนั้น
  88. ผู้ใดสอนธรรมแก่คนที่ปฏิบัติไม่ถูก ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น จะไม่ไปสู่ทุคติ
  89. ผู้ใดสั่งสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตาย
  90. ผู้ใดเกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี แต่ผู้ปรารถนาความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้นั้น
  91. ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกาม ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ดับแล้ว อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
  92. ผู้ใดเมื่อคนอื่นล่วงเกินกันอยู่ ตนเองกลับหาทางเชื่อมเขาให้คืนดีกันได้ ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นคนเอาภาระ เป็นผู้จัดธุระที่ดียอดเยี่ยม
  93. ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
  94. ผู้ใดเห็นศีล ปัญญา และสุตะ ในตน, ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์ตน และ ผู้อื่นทั้ง 2 ฝ่าย
  95. ผู้ใดใคร่เห็นผู้มีศีล ปรารถนาฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทิลคือความตระหนี่ได้, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าผู้มีศรัทธา
  96. ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพันประกอบพิธีบูชาทุกเดือน สม่ำเสมอ ตลอดเวลาร้อยปี การบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไร การยกบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้ว คนหนึ่งแม้เพียงครู่เดียวประเสริฐกว่า
  97. ผู้ใดในโลกนี้ สำรวมทางกาย วาจา และ ใจ ไม่ทำบาปอะไร และ ไม่พูดพล่อย เพราะเหตุแห่งตน , ท่านเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีศีล
  98. ผู้ใดให้ทานในบุคคลที่ไม่ควรให้ ไม่ให้ทานในคนที่ควรให้ เมื่อผู้นั้นถึงความเสื่อมเพราะอันตราย ย่อมไม่ได้สหาย
  99. ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ผู้ใดสอนธรรม ผู้นั้นชื่อว่าให้อมตะ
  100. ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง และ ไม่มีเวรกับใคร ๆ

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "พุทธสุภาษิต หมวด ผ (หน้าที่ 2)"

 พุทธสุภาษิตที่แนะนำมาใหม่