พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 6)

  1. อรหัน
    หมายถึง [ออระ-] น. ชื่อสัตว์ในนิยาย มี ๒ เท้า มีปีกคล้ายนก หัวคล้ายหัวคน; ผู้วิเศษ.
  2. อรหันต,อรหันต-,อรหันต์
    หมายถึง [อะระหันตะ-, ออระหันตะ-, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคำวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้ อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).
  3. อรหันตฆาต
    หมายถึง น. การฆ่าพระอรหันต์, นับว่าเป็นบาปหนักที่สุดอย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕ อันได้แก่ ๑. ปิตุฆาต คือ ฆ่าบิดา ๒. มาตุฆาต คือ ฆ่ามารดา ๓. อรหันตฆาต คือ ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท คือ ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. สังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป.).
  4. อรัญ,อรัญ-
    หมายถึง [อะรัน, อะรันยะ-] น. ป่า. (ป. อรญฺ; ส. อรณฺย).
  5. อรัญญิก
    หมายถึง น. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก. (จารึกสยาม), (โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น. (จารึกสยาม). ว. ที่เกี่ยวกับป่า เช่น อรัญญิกาวาส. (ป. อารญฺก ว่า เกี่ยวกับป่า).
  6. อรัญวาส
    หมายถึง น. การอยู่ในป่า. (ป. อรญฺวาส).
  7. อรัญวาสี
    หมายถึง น. ผู้อยู่ในป่า, ใช้สำหรับเรียกคณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ คู่กับ คามวาสี คณะสงฆ์ฝ่ายคันถธุระ. (ป. อรญฺวาสี).
  8. อรัณย์
    หมายถึง น. ป่า. (ส. อรณฺย; ป. อรญฺ).
  9. อราดี,อราติ
    หมายถึง น. ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ. (ป. อรติ). (ดู อรดี).
  10. อริ
    หมายถึง [อะริ, อะหฺริ] น. ข้าศึก, ผู้ที่ไม่ถูกกัน. (ป., ส.).
  11. อริน
    หมายถึง น. ลูกล้อ, จักร. (ส.).
  12. อรินทร์
    หมายถึง น. ผู้เป็นใหญ่ฝ่ายข้าศึกหรือฝ่ายศัตรู มักหมายถึงพระราชาหรือเจ้าเมืองใหญ่ของฝ่ายตรงกันข้าม. (ส.).
  13. อริย
    หมายถึง [อะริยะ-] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.
  14. อริย-
    หมายถึง [อะริยะ-] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.
  15. อริยกะ
    หมายถึง [อะริยะ-] น. ชื่อชนชาติหนึ่ง ซึ่งเป็นต้นเค้าของชาวอินเดียบางพวก ชาวอิหร่าน และชาวยุโรปบางพวก, อารยัน ก็ว่า. (ป.).
  16. อริยทรัพย์
    หมายถึง น. ทรัพย์อันประเสริฐ มี ๗ ประการ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา. (ป. อริย + ส. ทฺรวฺย).
  17. อริยบุคคล
    หมายถึง น. บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. (ป. อริยปุคฺคล).
  18. อริยผล
    หมายถึง น. ชื่อโลกุตรธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ อริยมรรค. (ป.).
  19. อริยมรรค
    หมายถึง น. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทางดำเนินของพระอริยะ; ชื่อโลกุตรธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, คู่กับ อริยผล. (ป. อริยมคฺค).
  20. อริยสัจ
    หมายถึง น. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อธรรมสำคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).
  21. อริยะ
    หมายถึง [อะริยะ-] น. ในพระพุทธศาสนา เรียกบุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ว่า พระอริยะ หรือ พระอริยบุคคล. ว. เป็นของพระอริยะ, เป็นชาติอริยะ; เจริญ, เด่น, ประเสริฐ.
  22. อรุ
    หมายถึง น. แผล, บาดแผล. (ป.; ส. อรุสฺ).
  23. อรุณ
    หมายถึง น. เวลาใกล้พระอาทิตย์จะขึ้น มี ๒ ระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดงเรื่อ ๆ (แสงทอง), เวลายํ่ารุ่ง. (ป., ส.).
  24. อรุโณทัย
    หมายถึง น. เวลาตั้งขึ้นแห่งอรุณ, เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลาเช้าตรู่, ใช้ว่า อโณทัย ก็มี. (ป.).
  25. อรุ่ม
    หมายถึง [อะหฺรุ่ม] ว. มืดคลุ้ม.
  26. อรูป,อรูป-
    หมายถึง [อะรูบ, อะรูบปะ-] ว. ไม่มีรูป, ไม่ใช่รูป; ที่เป็นนามธรรม. (ป., ส.).
  27. อรูปฌาน
    หมายถึง [อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).
  28. อรูปพรหม
    หมายถึง [อะรูบปะพฺรม] น. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวกไม่มีรูป มี ๔ ชั้น, คู่กับ รูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม-).
  29. อรูปภพ
    หมายถึง [อะรูบปะพบ] น. ภพของผู้ที่ได้อรูปฌาน ๔, อรูปภูมิ ก็ว่า.
  30. อรูปภูมิ
    หมายถึง [อะรูบปะพูม] น. อรูปภพ.
  31. อรไท
    หมายถึง [ออระไท] น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียกนางกษัตริย์), ใช้ว่า อ่อนไท้ ก็มี.
  32. อร่อย
    หมายถึง [อะหฺร่อย] ว. มีรสดี (ใช้แก่ของกิน); (ปาก) ดี, ถึงใจ, ดุเดือด, เช่น มวยคู่นี้ต่อยกันอร่อยมาก.
  33. อร่าม
    หมายถึง [อะหฺร่าม] ว. แพรวพราว, สว่างไสว, เช่น ใส่ทองอร่ามไปทั้งตัว เปิดไฟอร่ามไปทั้งห้อง.
  34. อลงกต
    หมายถึง [อะลงกด] ก. ตกแต่ง, ประดับประดา. (ป. อลงฺกต; ส. อลํกฺฤต).
  35. อลงกรณ์
    หมายถึง [อะลงกอน] น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่องประดับ. (ป., ส.).
  36. อลงการ
    หมายถึง [อะลงกาน] น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่องประดับ. ว. งามด้วยเครื่องประดับตกแต่ง. (ป., ส. อลงฺการ).
  37. อลวน
    หมายถึง [อนละวน] ว. วุ่น, สับสน.
  38. อลหม่าน
    หมายถึง [อนละ-] ว. ชุลมุน, วุ่นวาย, แตกตื่น.
  39. อลักเอลื่อ
    หมายถึง [อะหฺลักอะเหฺลื่อ] ว. อึดอัดใจ, ลำบากใจ, อาหลักอาเหลื่อ อิหลักอิเหลื่อ หรือ อีหลักอีเหลื่อ ก็ว่า.
  40. อลังการ
    หมายถึง น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่องประดับ. ว. งามด้วยเครื่องประดับตกแต่ง. (ป., ส.).
  41. อลังการศาสตร์
    หมายถึง น. วิชาว่าด้วยวิธีการประพันธ์ที่จะทำให้เกิดอรรถรสและความประทับใจ อำนวยประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีมาก.
  42. อลัชชี
    หมายถึง ว. ไม่อาย, นอกจารีต. น. ผู้ไม่อาย (ใช้แก่นักพรต), ผู้ประพฤตินอกจารีต, เช่น พระรูปนี้เป็นอลัชชี. (ป.).
  43. อลิงค์,อลึงค์
    หมายถึง (ไว) น. เพศของคำที่ไม่ปรากฏชัดลงไปว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เช่น คน ครู นักเรียน ข้าราชการ สุนัข แมว. (ส. อลิงฺค).
  44. อลึ่งฉึ่ง
    หมายถึง [อะหฺลึ่ง-] ว. อาการที่บวมเป่งเห็นได้ชัด เช่น หน้าบวมอลึ่งฉึ่ง; เรียกลักษณะของซากศพที่ขึ้นเต็มที่ว่า ขึ้นอลึ่งฉึ่ง, โดยปริยายเรียกอาการที่คนอ้วนมากนอนหงายหรือนั่งตามสบายว่า นอนอลึ่งฉึ่ง นั่งอลึ่งฉึ่ง.
  45. อลเวง
    หมายถึง [อนละ-] ว. เซ็งแซ่, ไม่เป็นระเบียบ.
  46. อล่องฉ่อง
    หมายถึง [อะหฺล่อง-] (ปาก) ว. ผุดผ่อง เช่น ผัดหน้าขาวอล่องฉ่อง.
  47. อล่างฉ่าง
    หมายถึง [อะหฺล่าง-] ว. ที่เห็นจะแจ้ง, ที่เห็นเต็มที่, ที่เห็นเด่น, ที่เปิดเผย.
  48. อวกาศ
    หมายถึง [อะวะกาด] น. บริเวณที่อยู่นอกบรรยากาศของโลก. (ส.).
  49. อวจร
    หมายถึง [อะวะจอน] น. แดน, บริเวณ, เขต, วิสัย. (ป., ส.).
  50. อวชัย
    หมายถึง [อะวะ-] น. ความเอาไว้ในเงื้อมมือ, การปราบปราม. (ป., ส.).
  51. อวชาต,อวชาต-
    หมายถึง [อะวะชาด, อะวะชาดตะ-] ว. มีกำเนิดเลว, ตํ่าช้า. (ป., ส.).
  52. อวชาตบุตร
    หมายถึง น. บุตรที่มีคุณสมบัติตํ่ากว่าบิดามารดา. (ส. อวชาตปุตฺร; ป. อวชาตปุตฺต).
  53. อวด
    หมายถึง ก. สำแดงให้รู้เห็น เช่น อวดฤทธิ์อวดเดช, แสดงให้ปรากฏ เช่น อวดความสามารถ, นำออกให้ดูให้ชม เช่น เอาของมาอวด, ยกย่องต่อหน้าคน เช่น อวดว่าลูกตัวเก่ง, แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีคุณสมบัติเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่มิได้มี เช่น อวดเก่ง อวดภูมิ.
  54. อวดดี
    หมายถึง ก. ทะนงใจว่าตนดี, ถือดี, แสดงให้เขาเห็นว่าตนดีโดยไม่มีดีจริง ๆ.
  55. อวดตัว
    หมายถึง ก. แสดงให้เห็นว่าตัวเองดีกว่าผู้อื่น.
  56. อวดรู้
    หมายถึง ก. แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนรู้ เช่น เขาชอบอวดรู้ทุกเรื่อง.
  57. อวดอ้าง
    หมายถึง ก. พูดแสดงสรรพคุณหรือคุณวิเศษที่มิได้มีอยู่หรือให้เกินความเป็นจริง, พูดโดยยกหลักฐานซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือที่บิดเบือนไปจากความจริงมาประกอบ.
  58. อวตาร
    หมายถึง [อะวะตาน] ก. แบ่งภาคมาเกิดในโลก (ใช้แก่พระนารายณ์) เช่น พระนารายณ์อวตารเป็นปลา. (ส.).
  59. อวน
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องจับปลา มีหลายชนิด ถักเป็นตาข่ายผืนยาว ใช้ล้อมจับปลา.
  60. อวนรุน
    หมายถึง น. อวนที่มีลักษณะคล้ายถุง ปากอวนประกอบกับคันรุน ติดตั้งบริเวณหัวเรือ รุนเคลื่อนที่ไปพร้อมกับเรืออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สัตว์น้ำที่อยู่ด้านหน้าปากอวนเข้ามาติดอยู่ที่ก้นถุงอวน ใช้ทำการประมงในระดับน้ำลึกไม่เกิน ๑๕ เมตร.
  61. อวนลอย
    หมายถึง น. อวนชนิดที่ไม่มีเครื่องถ่วง ใช้ผูกมุมขอบบนของอวนกับเรือ อีกมุมหนึ่งผูกกับทุ่น ปล่อยให้อวนลอยไป, กัดวาง ก็เรียก.
  62. อวนลาก
    หมายถึง น. อวนชนิดที่ใช้ผูกตอนกลางอวนไว้กับเรือ คนหนึ่งอยู่ข้างตลิ่งยึดคันไม้ชายอวนข้างหนึ่งไว้ และอีกคนหนึ่งจับคันไม้ชายอวนอีกข้างหนึ่งเดินลุยนํ้าเป็นรูปครึ่งวงกลมเข้าตลิ่ง, กัดลาก ก็เรียก.
  63. อวบ
    หมายถึง ว. มีเนื้อหนังสมบูรณ์เต่งตึงกว่าปรกติ แต่ไม่ถึงกับอ้วน เช่น แขนอวบ ขาอวบ, โตและเต่งกว่าปรกติ เช่น ผักบุ้งยอดอวบ มะม่วงลูกอวบ.
  64. อวบน้ำ
    หมายถึง ว. มีเนื้อชุ่มนํ้า (ใช้แก่พืช) เช่น ต้นกระบองเพชรเป็นพืชที่มีลำต้นอวบนํ้า.
  65. อวบอั๋น
    หมายถึง ว. อวบอย่างเนื้อแน่น.
  66. อวมงคล
    หมายถึง [อะวะมงคน] ว. ที่มิใช่มงคล, เรียกงานทำบุญเกี่ยวกับการศพว่า งานอวมงคล. (ป.).
  67. อวมอำ
    หมายถึง [อวม-] (โบ) ว. ที่ปิดบังความจริง (ใช้แก่กริยาพูด), อำอวม ก็ว่า.
  68. อวย
    หมายถึง ก. ให้ เช่น อวยชัย อวยพร, โบราณใช้ว่า โอย ก็มี เช่น โอยทาน.
  69. อวย
    หมายถึง น. เรียกหม้อดินหรือหม้อเคลือบที่มีด้ามหรือหูสำหรับจับหรือหิ้วว่า หม้ออวย.
  70. อวยวะ,อวัยวะ
    หมายถึง [อะวะยะวะ, อะไวยะวะ] น. ชิ้น, ส่วน, ส่วนของร่างกาย, ในบทกลอนใช้ว่า อพยพ ก็มี. (ป., ส. อวยว).
  71. อวรรค
    หมายถึง น. เศษวรรค.
  72. อวรุทธ์,อวรุทธก
    หมายถึง [อะวะรุด, อะวะรุดทะกะ] ว. ถูกขับไล่. (ป., ส.).
  73. อวล
    หมายถึง [อวน] ก. ฟุ้งด้วยกลิ่นหอม, มักใช้เข้าคู่กับคำ อบ เป็น อบอวล. (ข. ว่า เต็ม, แน่น, อึดอัด).
  74. อวสาน
    หมายถึง [อะวะ-] ก. จบ, สิ้นสุด. น. การสิ้นสุด, ที่สุด. (ป., ส.).
  75. อวหาร
    หมายถึง น. การลัก, การขโมย. (ป., ส.).
  76. อวัยวะ
    หมายถึง ดู อวยวะ.
  77. อวัสดา
    หมายถึง [อะวัดสะดา] น. ฐานะ, ความเป็นอยู่; เวลา, สมัย. (ส. อวสฺถา; ป. อวตฺถา).
  78. อวาจี
    หมายถึง น. ทิศใต้. (ป.).
  79. อวิจี
    หมายถึง ดู อเวจี.
  80. อวิชชา
    หมายถึง [อะวิดชา] น. ความไม่รู้แจ้ง หมายถึง ไม่รู้แจ้งในอริยสัจ ๔; ความเขลา. (ป.).
  81. อวิญญาณก,อวิญญาณก-
    หมายถึง [อะวินยานะกะ-, อะวินยานนะกะ-] ว. ไม่มีวิญญาณ, ไม่มีชีวิต, ไม่มีจิตใจ. (ป.).
  82. อวิญญาณกทรัพย์
    หมายถึง (กฎ; โบ) น. สิ่งที่ไม่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น เงิน ทอง ที่ดิน.
  83. อวิญญู
    หมายถึง ว. โง่, ไม่มีความรู้. (ป.).
  84. อวิรุทธ์
    หมายถึง ว. ไม่ขัดข้อง, ไม่ผิดพลาด; สะดวก; มีอิสระ. (ป., ส.).
  85. อวิหิงสา
    หมายถึง น. ความไม่เบียดเบียน, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม).
  86. อวิโรธนะ
    หมายถึง [อะวิโรทะนะ] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).
  87. อวิโรธน์
    หมายถึง [อะวิโรด] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).
  88. อวีจิ
    หมายถึง ดู อเวจี.
  89. อวเคราะห์
    หมายถึง [อะวะเคฺราะ] น. อุปสรรค, เครื่องกีดขวาง; ความเหนี่ยวรั้ง. (ส. อวคฺรห; ป. อวคฺคห).
  90. อสงไขย
    หมายถึง [อะสงไข] ว. มากจนนับไม่ถ้วน. น. ชื่อมาตรานับจำนวนใหญ่ที่สุด คือ โกฏิยกกำลัง ๒๐. (ป. อสงฺเขยฺย; ส. อสํขฺย).
  91. อสนี
    หมายถึง [อะสะ-] น. สายฟ้า, อาวุธพระอินทร์. (ป. อสนิ, อสนี; ส. อศนิ).
  92. อสนีบาต
    หมายถึง [อะสะ-] น. ฟ้าผ่า, อสุนีบาต ก็ว่า. (ป. อสนิปาต).
  93. อสภะ
    หมายถึง [อะสะพะ] ดู อสุภ, อสุภ-.
  94. อสมการ
    หมายถึง [อะสะมะกาน, อะสมมะกาน] (คณิต) น. ข้อความที่แสดงการไม่เท่ากันของนิพจน์ ๒ นิพจน์ที่ปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของเครื่องหมาย < หรือ >. (อ. inequality).
  95. อสมมาตร
    หมายถึง [อะสมมาด] ว. ไม่สมมาตร. (อ. asymmetrical).
  96. อสรพิษ
    หมายถึง [อะสอระ-] น. สัตว์มีพิษในเขี้ยว มักหมายถึง งูพิษ, โดยปริยายหมายถึงคนที่ลอบทำร้ายหรือให้ร้ายผู้มีคุณหรือผู้อื่นด้วยความอิจฉาริษยาเป็นต้น. (ส. อสิร + วีษ; ป. อาสีวิส).
  97. อสังกมทรัพย์
    หมายถึง [อะสังกะมะซับ] (กฎ; เลิก) น. สังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่อาจใช้ของอื่นที่เป็นประเภทและชนิดเดียวกัน มีปริมาณเท่ากันแทนได้, คู่กับ สังกมทรัพย์.
  98. อสังหาริม,อสังหาริม-,อสังหาริมะ
    หมายถึง [อะสังหาริมะ-, อะสังหาริมมะ-] ว. ซึ่งนำเอาไปไม่ได้, เคลื่อนที่ไม่ได้. (ป.).
  99. อสังหาริมทรัพย์
    หมายถึง น. ทรัพย์ที่นำไปไม่ได้ คือ ทรัพย์ที่ติดกับที่ เช่น ที่ดิน; (กฎ) ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย, คู่กับ สังหาริมทรัพย์.
  100. อสัญ,อสัญ-
    หมายถึง [อะสันยะ-] ว. ไม่รู้สึกตัว, สิ้นสติ. (ป. อสญฺ).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 6)"