พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 5)

  1. อมรราช
    หมายถึง [อะมอนระราด] น. “ราชาของเทวดา” คือ พระอินทร์. (ส.).
  2. อมรสตรี
    หมายถึง [อะมะระสัดตฺรี] น. นางสวรรค์, นางฟ้า. (ส.).
  3. อมรา
    หมายถึง (กลอน) น. อมร.
  4. อมราวดี
    หมายถึง น. ชื่อเมืองของพระอินทร์. (ส. อมราวดี).
  5. อมรินทร์,อมเรนทร์
    หมายถึง น. พระอินทร์. (ส. อมร + อินฺทฺร).
  6. อมรโคยานทวีป
    หมายถึง น. ทวีปใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุเป็นทวีป ๑ ใน ๔ ทวีป ได้แก่ อุตรกุรุทวีปหรืออุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป.
  7. อมฤต,อมฤต-
    หมายถึง [อะมะริด, -รึด, -ริดตะ-, -รึดตะ-] น. นํ้าทิพย์ เรียกว่า นํ้าอมฤต; เครื่องทิพย์. (ส.; ป. อมต).
  8. อมฤตบท
    หมายถึง [อะมะรึดตะ-] น. ทางพระนิพพาน.
  9. อมฤตยู
    หมายถึง [อะมะรึดตะ-] น. ความไม่ตาย. (ส.).
  10. อมฤตรส
    หมายถึง [อะมะรึดตะ-] น. น้ำทิพย์; พระธรรม (ในพระพุทธศาสนา).
  11. อมฤตาหรณ์
    หมายถึง ครุฑ, ผู้ลักน้ำอมฤต
  12. อมหนอง
    หมายถึง ก. กลัดหนอง, มีหนองคั่งอยู่.
  13. อมัจจะ
    หมายถึง น. อำมาตย์. (ป.; ส. อมาตฺย).
  14. อมัตร
    หมายถึง น. หม้อนํ้า, ภาชนะสำหรับใส่นํ้าดื่ม. (ส.).
  15. อมาตย์
    หมายถึง [อะหฺมาด] น. อำมาตย์, ข้าราชการ, ข้าเฝ้า; ที่ปรึกษา. (ส.; ป. อมจฺจ).
  16. อมาวสี,อมาวสุ,อมาวาสี
    หมายถึง น. วันดับ, วันที่พระจันทร์และพระอาทิตย์ร่วมราศีและองศาเดียวกัน ตรงกับแรม ๑๕ ค่ำหรือแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด. (ป.).
  17. อมิตร
    หมายถึง [อะมิด] ว. ไม่ใช่เพื่อน. น. ข้าศึก, ศัตรู. (ส.; ป. อมิตฺต).
  18. อมเพลิง
    หมายถึง [-เพฺลิง] น. เรียกไม้เสาที่มีเปลือกและกระพี้เป็นชั้น ๆ ว่า เสาอมเพลิง ถือว่าเป็นเสาไม่ดี.
  19. อมเรศ,อมเรศวร
    หมายถึง [อะมะเรด, -เรสวน] น. พระอินทร์.
  20. อมเลือดอมฝาด
    หมายถึง ว. มีผิวพรรณผุดผ่อง.
  21. อมเลือดอมหนอง
    หมายถึง ว. มีเลือดและหนองปนกันอยู่ข้างใน เช่น ฝีอมเลือดอมหนอง.
  22. อมโรค
    หมายถึง ว. ขี้โรค.
  23. อย,อย-,อยัส
    หมายถึง [อะยะ-, อะยัด] น. เหล็ก. (ป. อย; ส. อยสฺ).
  24. อยน,อยน-
    หมายถึง [อะยะนะ-] น. ทาง, ถนน, ที่ไป, ที่เดิน; การไป, การถึง. (ป., ส.).
  25. อยาก
    หมายถึง [หฺยาก] ก. ปรารถนา, ประสงค์, ต้องการ, ใคร่, เช่น อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากมีเงิน; หิว, กระหาย, (ใช้แก่อาหาร) เช่น อยากข้าว อยากน้ำ.
  26. อยุทธ์
    หมายถึง [อะ-] ว. ไม่พ่ายแพ้, ปราบไม่ได้. (ป., ส.).
  27. อยู่
    หมายถึง [หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.
  28. อยู่ ๆ,อยู่ดี ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.
  29. อยู่กรรม,อยู่ปริวาส
    หมายถึง ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้าปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
  30. อยู่กิน
    หมายถึง ก. ดำรงชีวิตฉันผัวเมีย.
  31. อยู่คง
    หมายถึง (โบ) ว. ทนทานต่อศัสตราวุธ.
  32. อยู่งาน
    หมายถึง (ราชา) ก. ปรนนิบัติรับใช้.
  33. อยู่ดีกินดี
    หมายถึง ว. มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย.
  34. อยู่ดีไม่ว่าดี
    หมายถึง (สำ) ว. แทนที่จะอยู่เฉย ๆ กลับทำสิ่งที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตน เช่น อยู่ดีไม่ว่าดีขอลูกเขามาเลี้ยง.
  35. อยู่ตัว
    หมายถึง ก. ถึงระดับที่คงตัว, คงที่, ไม่เปลี่ยนแปลง.
  36. อยู่ท้อง
    หมายถึง ว. อิ่มได้นาน.
  37. อยู่มือ
    หมายถึง ก. เกรงกลัวไม่กล้าฝ่าฝืน, อยู่ในบังคับไม่กล้าฝ่าฝืน.
  38. อยู่ยงคงกระพัน
    หมายถึง ว. ทนทานต่อศัสตราวุธ.
  39. อยู่ยาม
    หมายถึง ก. เฝ้าระวังเหตุการณ์.
  40. อยู่หมัด
    หมายถึง ก. เกรงกลัวฝีปากหรือฝีมือ, ยอมอยู่ในอำนาจ.
  41. อยู่อัตรา
    หมายถึง (โบ) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติอยู่อัตรา. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา.
  42. อยู่อาสา
    หมายถึง (โบ) น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็งและประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย. (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ).
  43. อยู่เวร
    หมายถึง ก. ผลัดกันอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กำหนดไว้.
  44. อยู่แล้ว
    หมายถึง ว. แย่แล้ว เช่น เอะกูอยู่แล้วนะเสนี เห็นไพรีจะมากมายหลายหมื่น. (สังข์ทอง).
  45. อยู่โยง
    หมายถึง ก. อยู่ประจำที่แต่ผู้เดียวหรือกลุ่มเดียว.
  46. อยู่ไปมา
    หมายถึง ว. อาการที่ทำต่อเนื่องกันหลายหนหรือเรื่อย ๆ ไป เช่น ยิ้มอยู่ไปมา โบกมืออยู่ไปมา.
  47. อยู่ไฟ
    หมายถึง ก. นอนใกล้ไฟโดยเชื่อว่าความร้อนจะทำให้มดลูกเข้าสู่ภาวะปรกติได้เร็วหลังคลอดลูกแล้ว.
  48. อยู่ไม่สุข
    หมายถึง ก. อยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้.
  49. อย่า
    หมายถึง [หฺย่า] ว. คำประกอบกริยาบอกความห้ามหรือไม่ยอมให้ทำการต่าง ๆ.
  50. อย่าง
    หมายถึง [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนามบอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงานหลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคำวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  51. อย่างไร
    หมายถึง ว. ใช้ในประโยคคำถาม ถามถึงความเป็นไป ความเป็นอยู่ เช่น คนไข้มีอาการอย่างไร หมู่นี้เป็นอย่างไรบ้าง, ถามถึงวิธีหรือความเห็นเป็นต้น เช่น จะทำอย่างไร มีความเห็นอย่างไร; ถ้าใช้ในประโยคที่ไม่เป็นคำถาม หมายความว่า จะโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม เช่น ถึงอย่างไรเขาก็ไม่มา.
  52. อย่างไรก็ดี
    หมายถึง สัน. ถึงเช่นนั้น, แม้กระนั้น, แต่.
  53. อย่างไรก็ตาม
    หมายถึง สัน. ถึงเช่นนั้น, แม้กระนั้น, แต่.
  54. อย่ามาเรา
    หมายถึง อย่าเหมารวมสิ มึงแหละ คนเดียวนั่นแหละ
  55. อร
    หมายถึง ก. ทำให้ดีใจ, ทำให้ปลาบปลื้มใจ, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  56. อร
    หมายถึง [ออน, ออระ] (กลอน) น. ผู้หญิง, หญิงงาม, เช่น โอบองค์ผอูนอวล ออกโอษฐ์ อรเอย. (นิ. นรินทร์). ว. สวย, งาม, เช่น พระองค์กลมกล้องแกล้ง เอวอ่อนอรอรรแถ้ง ถ้วนแห่งเจ้ากูงาม บารนี ฯ. (ลอ).
  57. อร,อร-,อร-
    หมายถึง [อะระ-] น. กำ, ซี่ล้อรถหรือเกวียน. (ป., ส.).
  58. อรช,อรช-
    หมายถึง [อะระชะ-] ว. ปราศจากผงหรือมลทิน. (ป., ส.).
  59. อรชร
    หมายถึง [ออระชอน] ว. งามอย่างเอวบางร่างน้อย, มักใช้เข้าคู่กับคำ อ้อนแอ้น เป็น อรชรอ้อนแอ้น.
  60. อรชุน
    หมายถึง [ออระชุน] น. ไม้รกฟ้า; สีขาว. ว. ขาว; ใส. (ส. อรฺชุน; ป. อชฺชุน).
  61. อรณ,อรณ-
    หมายถึง [อะระนะ-] ก. ไม่รบ. (ป., ส.).
  62. อรดี,อรติ
    หมายถึง [อะระ-] น. ความไม่ยินดี, ความไม่พอใจ, อราดี หรือ อราติ ก็ใช้. (ป., ส.).
  63. อรทัย
    หมายถึง [ออระไท] น. หญิงสาว, สาวรุ่น, สาวงาม.
  64. อรธาน
    หมายถึง [ออระ-] (โบ) ว. ที่ปล่อยปละละไว้โดยไม่หวงแหน เช่น ของอรธาน.
  65. อรนุช
    หมายถึง [ออระ-] น. หญิงงาม.
  66. อรพินท์
    หมายถึง [ออระ-] น. ดอกบัว, (โบ) เขียนเป็น อรพินธุ ก็มี เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนประเวศน์). (ป., ส. อรวินฺท).
  67. อรพิม
    หมายถึง [ออระ-] ดู คิ้วนาง.
  68. อรรค
    หมายถึง [อัก] (โบ) ว. อัคร. (ส. อคฺร; ป. อคฺค).
  69. อรรฆ
    หมายถึง [อัก] น. ค่า, ราคา. (ส. อรฺฆ; ป. อคฺฆ).
  70. อรรฆย์
    หมายถึง [อัก] ว. มีค่า, มีราคา; ควรยกย่อง. (ส. อรฺฆฺย; ป. อคฺฆิย).
  71. อรรจน์
    หมายถึง [อัด] น. การยกย่อง, การสรรเสริญ. (ส. อรฺจน; ป. อจฺจน).
  72. อรรณพ
    หมายถึง [อันนบ] น. ห้วงนํ้า, ทะเล, มหาสมุทร. (ส. อรฺณว; ป. อณฺณว).
  73. อรรถ,อรรถ-
    หมายถึง [อัด, อัดถะ-] น. เนื้อความ เช่น แปลโดยอรรถ, คำที่ยังไม่ได้แปลความหมาย เช่น คำอรรถ. (ส. อรฺถ; ป. อตฺถ).
  74. อรรถกถา
    หมายถึง [อัดถะกะถา] น. คัมภีร์ที่อธิบายความพระบาลี, คัมภีร์ที่ไขความพระไตรปิฎก. (ส. อรฺถ + กถา; ป. อตฺถกถา, อฏฺกถา).
  75. อรรถกถาจารย์
    หมายถึง น. อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา.
  76. อรรถกร
    หมายถึง [อัดถะกอน] ว. ให้ประโยชน์, เป็นประโยชน์. (ส. อรฺถกร).
  77. อรรถกวี
    หมายถึง [อัดถะกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรองตามความเป็นจริง.
  78. อรรถคดี
    หมายถึง [อัดถะคะดี] (กฎ) น. เรื่องที่ฟ้องร้องกันในศาล.
  79. อรรถบท
    หมายถึง [อัดถะบด] น. แก่นเรื่อง, เนื้อความ, หัวข้อ, สาระ.
  80. อรรถปฏิสัมภิทา
    หมายถึง [อัดถะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
  81. อรรถประโยชน์
    หมายถึง [อัดถะปฺระโหฺยด] น. ประโยชน์ที่ต้องการ.
  82. อรรถรส
    หมายถึง [อัดถะรด] น. รสแห่งถ้อยคำ, ถ้อยคำที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง, ถ้อยคำที่ทำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ.
  83. อรรถาธิบาย
    หมายถึง ก. ขยายความ, อธิบายความ. น. การขยายความ, การอธิบายความ.
  84. อรรธ,อรรธ-
    หมายถึง [อัด, อัดทะ-] น. ครึ่งหนึ่ง, ซีก, ส่วนหนึ่ง. (ส. อรฺธ; ป. อฑฺฒ, อทฺธ).
  85. อรรธกรรณ
    หมายถึง [อัดทะกัน] น. “ครึ่งเส้นผ่าศูนย์กลาง” คือ รัศมีของวงกลม. (ส. อรฺธกรฺณ).
  86. อรรธคราส
    หมายถึง [อัดทะคฺราด] น. การมีจันทรคราสและสุริยคราสครึ่งดวง. (ส.).
  87. อรรธจักร
    หมายถึง [อัดทะจัก] น. เรียกดวงชาตาของคนที่พระเคราะห์ไปร่วมกันอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง.
  88. อรรธจันทร์
    หมายถึง [อัดทะจัน] น. พระจันทร์ครึ่งซีก; ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สำหรับดูการแสดง มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม, ชั้นที่ตั้งของขายหรือก้าวขึ้นลง ทำเป็นขั้น ๆ, อัฒจันทร์ ก็ว่า.
  89. อรรธนิศา
    หมายถึง [อัดทะนิสา] น. เวลาเที่ยงคืน. (ส.).
  90. อรรธบท
    หมายถึง [อัดทะบด] น. ครึ่งทาง. (ส. อรฺธปท).
  91. อรรธภาค
    หมายถึง [อัดทะพาก] น. ครึ่งหนึ่ง.
  92. อรรธสระ
    หมายถึง [อัดทะสะหฺระ] น. เสียงกึ่งสระกึ่งพยัญชนะ.
  93. อรสุม
    หมายถึง [ออระ-] น. ไอนํ้า. (ป. อุสุม).
  94. อรสุมพล
    หมายถึง น. กำลังไอนํ้า.
  95. อรหะ
    หมายถึง [อะระ-] ว. ควร, สมควร. (ป., ส.).
  96. อรหัง
    หมายถึง [อะระ-, ออระ-] น. พระพุทธเจ้า; พระอรหันต์. (ป. อรหํ).
  97. อรหัต,อรหัต-
    หมายถึง [อะระหัด, ออระหัด, อะระหัดตะ-, ออระหัดตะ-] น. ความเป็นพระอรหันต์. (ป. อรหตฺต; ส. อรฺหตฺตฺว).
  98. อรหัตผล
    หมายถึง น. ธรรมที่พระอรหันต์ได้บรรลุ. (ป. อรหตฺตผล; ส. อรฺหตฺตฺว + ผล). (ดู ผล).
  99. อรหัตมรรค
    หมายถึง น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์. (ส. อรฺหตฺตฺว + มารฺค; ป. อรหตฺตมคฺค). (ดู มรรค).
  100. อรหัตวิโมกข์
    หมายถึง น. ความพ้นจากกิเลสเพราะสำเร็จอรหัต. (ป. อรหตฺตวิโมกฺข).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 5)"