พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 3)

  1. อนิจ,อนิจ-
    หมายถึง [อะนิด, อะนิดจะ-] ว. ไม่ยั่งยืน, ไม่เที่ยง, ชั่วคราว, ไม่แน่นอน. (ป. อนิจฺจ; ส. อนิตฺย).
  2. อนิจกรรม
    หมายถึง น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.
  3. อนิจจัง
    หมายถึง [อะนิด-] ว. ไม่เที่ยง, ไม่แน่นอน, เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ. (ป.).
  4. อนิจจัง,อนิจจัง,อนิจจา
    หมายถึง [อะนิด-] อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความสงสารสังเวชเป็นต้น.
  5. อนิฏฐารมณ์
    หมายถึง [อะนิดถารม] น. อารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจ ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ นินทา ทุกข์, ตรงข้ามกับ อิฏฐารมณ์. (ป. อนิฏฺารมฺมณ).
  6. อนิยต
    หมายถึง [อะนิยด] ว. ไม่แน่นอน. น. ชื่ออาบัติที่ไม่แน่นอนว่าจะเป็นอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้องวินิจฉัย. (ป., ส.).
  7. อนิยม,อนิยม-
    หมายถึง [อะนิยม, อะนิยะมะ-] ว. ไม่มีกำหนด, ไม่ต้องด้วยกฎหรือแบบแผน, ไม่แน่นอน, นอกแบบ. (ป., ส.).
  8. อนิลบถ
    หมายถึง [อะนิละบด] น. ทางลม, ฟ้า, อากาศ. (ป. อนิลปถ).
  9. อนิละ,อนิล,อนิล-
    หมายถึง [อะนิละ-] น. ลม. (ป., ส.).
  10. อนิวรรต,อนิวรรตน์
    หมายถึง [อะนิวัด] ว. ไม่กลับ, ไม่ท้อถอย. (ส. อนิวรฺต, อนิวรฺตน; ป. อนิวตฺต, อนิวตฺตน).
  11. อนิษฏ์
    หมายถึง ว. ไม่น่าปรารถนา. (ส.).
  12. อนีก,อนีก-,อนีกะ,อนึก
    หมายถึง [อะนีกะ-, อะนึก] น. กองทัพในสมัยโบราณ, เมื่อใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสใช้ว่า อนีกะ บ้าง อนึก บ้าง เช่น ปัตตานีกะ ปัตตานึก = กองทัพเหล่าราบ กองทัพทหารเดินเท้า, อัศวานีกะ อัศวานึก = กองทัพม้า เหล่าทหารม้า. (ป., ส.).
  13. อนีกทรรศนะ,อนีกทัศนะ
    หมายถึง น. การตรวจพล. (ส. อนีก + ทรฺศน; ป. อนีกทสฺสน).
  14. อนีกัฐ
    หมายถึง น. ทหารม้า, ทหารรักษาพระองค์. (ป. อนีกฏฺ).
  15. อนีจะ
    หมายถึง ว. ไม่ตํ่า, ดี, งาม, น่านับถือ. (ป., ส.).
  16. อนึก
    หมายถึง น. กองทัพ. (ดู อนีก-, อนีกะ, อนึก).
  17. อนึ่ง
    หมายถึง [อะหฺนึ่ง] สัน. อีกอย่างหนึ่ง, อีกประการหนึ่ง.
  18. อนุ
    หมายถึง คำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
  19. อนุกร
    หมายถึง [อะนุกอน] น. ผู้ช่วย. ว. เอาอย่าง, ทำตาม. (ส.).
  20. อนุกรม
    หมายถึง [อะนุกฺรม] น. ลำดับ, ระเบียบ, ชั้น, เช่น โดยอนุกรม, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น พจนานุกรม ปทานุกรม นามานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม. (ส. อนุกฺรม; ป. อนุกฺกม).
  21. อนุกรรมการ
    หมายถึง [อะนุกำมะกาน] น. กรรมการสาขาของคณะกรรมการ.
  22. อนุกระเบียด
    หมายถึง (โบ) น. มาตราวัดของไทย มีพิกัดเท่ากับครึ่งกระเบียดหรือ ๑ ใน ๘ ของนิ้ว.
  23. อนุกาชาด
    หมายถึง (โบ) น. อนุสมาชิกของสภากาชาด.
  24. อนุการ
    หมายถึง น. การทำตาม, การเอาอย่าง. (ป., ส.).
  25. อนุกูล
    หมายถึง ก. เกื้อกูล, สงเคราะห์. (ป., ส.).
  26. อนุคามิก
    หมายถึง ว. ตามไป, เกี่ยวเนื่อง. (ป.).
  27. อนุคามี
    หมายถึง น. ผู้ติดตาม, เพื่อน. ว. ติดตาม, เกี่ยวเนื่อง. (ป., ส.).
  28. อนุจร
    หมายถึง [อะนุจอน] น. ผู้ประพฤติตาม, ผู้ติดตาม; เรียกพระภิกษุลูกวัดว่า พระอนุจร, พระอันดับ ก็เรียก. (ป., ส.).
  29. อนุช
    หมายถึง [อะนุด] น. “ผู้เกิดภายหลัง”, น้องสาว, นิยมใช้ว่า นุช. (ป., ส.).
  30. อนุชน
    หมายถึง น. คนรุ่นหลัง, คนรุ่นต่อไป.
  31. อนุชา
    หมายถึง [อะนุชา] น. “ผู้เกิดภายหลัง”, น้องชาย, (ราชา) พระอนุชา. (ป., ส.).
  32. อนุชาต,อนุชาต-
    หมายถึง [อะนุชาด, อะนุชาดตะ-] น. ผู้เกิดตามมาไม่ดีกว่าหรือไม่เลวกว่าตระกูล. (ป., ส.).
  33. อนุชาตบุตร
    หมายถึง น. บุตรที่มีคุณสมบัติเสมอด้วยบิดามารดา. (ส. อนุชาตปุตฺร; ป. อนุชาตปุตฺต).
  34. อนุชิต
    หมายถึง ก. ชนะเนือง ๆ เช่น อนุชิตชาญชัย.
  35. อนุญาต
    หมายถึง ยินยอม, ยอมให้, ตกลง. (ป. อนุญฺญาต)
  36. อนุญาโตตุลาการ
    หมายถึง น. บุคคลที่คู่กรณีพร้อมใจกันตั้งขึ้นเพื่อให้ชำระตัดสินในข้อพิพาท; (กฎ) บุคคลคนเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีในสัญญาอนุญาโตตุลาการตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตให้ชี้ขาด.
  37. อนุตร,อนุตร-
    หมายถึง [อะนุดตะระ-] ว. ไม่มีสิ่งใดสูงกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, วิเศษ เช่น อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ. (ป., ส. อนุตฺตร).
  38. อนุทิน
    หมายถึง น. สมุดบันทึกประจำวัน.
  39. อนุบท
    หมายถึง น. บทลูกคู่, บทรับของเพลงและกลอน. (ป., ส. อนุปท).
  40. อนุบาล
    หมายถึง ก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวังรักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).
  41. อนุประโยค
    หมายถึง น. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.
  42. อนุปริญญา
    หมายถึง [อะนุปะรินยา] น. ชั้นความรู้ระดับอุดมศึกษารองจากปริญญาตรี ซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้.
  43. อนุปสัมบัน
    หมายถึง [อะนุปะสำบัน] น. ผู้ที่ไม่ได้เป็นภิกษุ หมายถึง สามเณรและคฤหัสถ์, คู่กับ อุปสมบัน หรือ อุปสัมบัน. (ป.).
  44. อนุปัสนา
    หมายถึง [อะนุปัดสะนา] น. การพิจารณา. (ป. อนุปสฺสนา).
  45. อนุพงศ์
    หมายถึง น. วงศ์ที่เนื่องมา, วงศ์ย่อยที่สืบมาจากวงศ์ใหญ่. (ส. อนุวํศ).
  46. อนุพัทธ์
    หมายถึง ว. ที่ติดต่อ, ที่เกี่ยวเนื่อง.
  47. อนุพันธ์
    หมายถึง ว. ที่ติดต่อ, ที่เกี่ยวเนื่อง. (วิทยา) น. สิ่งที่เกี่ยวเนื่อง เช่น นํ้ามันระกำเป็นอนุพันธ์ของสารฟีนอล. (ป., ส.).
  48. อนุภรรยา
    หมายถึง เมียน้อย
  49. อนุภริยา
    หมายถึง เมียน้อย
  50. อนุภาค
    หมายถึง น. ชิ้นหรือส่วนขนาดเล็กมาก, ในทางวิทยาศาสตร์มักใช้เรียกส่วนที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา. (อ. particle).
  51. อนุภาษ
    หมายถึง [-พาด] ก. พรํ่ากล่าว, พรํ่าสอน. (ส.; ป. อนุภาส).
  52. อนุมัติ
    หมายถึง [-มัด] ก. ให้อำนาจกระทำการตามระเบียบที่กำหนดไว้. (ป., ส.).
  53. อนุมาตรา
    หมายถึง [-มาดตฺรา] น. ข้อย่อยของมาตราในกฎหมายที่มีเลขกำกับอยู่ในวงเล็บ.
  54. อนุมาน
    หมายถึง ก. คาดคะเนตามหลักเหตุผล. (ป., ส.).
  55. อนุมูล
    หมายถึง น. หมู่ธาตุซึ่งเมื่อเข้าสู่ปฏิกิริยาเคมีแล้ว ทั้งหมู่จะเข้าทำปฏิกิริยาด้วยกัน โดยไม่แตกแยกออกจากกัน เช่น อนุมูลไฮดรอกซิล (-OH) อนุมูลไนเทรต (-NO3). (อ. radical, radicle).
  56. อนุมูลกรด
    หมายถึง น. ส่วนหนึ่งของโมเลกุลของกรดที่ปรากฏอยู่หลังจากที่ไฮโดรเจนไอออนแยกตัวออกไปแล้ว เช่น อนุมูลกรดคาร์บอเนต (-CO3) อนุมูลกรดไฮโดรเจนซัลเฟต (-HSO4). (อ. acid radical).
  57. อนุรักษ,อนุรักษ-,อนุรักษ์
    หมายถึง [อะนุรักสะ-, อะนุรัก] ก. รักษาให้คงเดิม. (ส.).
  58. อนุรักษนิยม
    หมายถึง [อะนุรักสะนิยม, อะนุรักนิยม] น. อุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทานการเปลี่ยนแปลง โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว.
  59. อนุราช
    หมายถึง [อะนุราด] น. พระราชารอง, พระเจ้าแผ่นดินองค์รอง. (ป.).
  60. อนุราธ,อนุราธะ,อนุราธา
    หมายถึง [อะนุราด, อะนุราทะ, อะนุราทา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๗ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปธนู หน้าไม้ หรือหงอนนาค, ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง ก็เรียก.
  61. อนุรูป
    หมายถึง ว. สมควร, เหมาะ, พอเพียง; เป็นไปตาม. (ป., ส.).
  62. อนุวงศ์
    หมายถึง น. วงศ์ที่เนื่องมา, เชื้อพระวงศ์ชั้นผู้น้อย.
  63. อนุวัต
    หมายถึง ก. ทำตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์ อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).
  64. อนุวาต
    หมายถึง [อะนุวาด] น. ผ้าดาม, ผ้าทาบ. (ป.).
  65. อนุศาสก
    หมายถึง น. อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนในหอพักของวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย. (ส.; ป. อนุสาสก).
  66. อนุศาสนาจารย์
    หมายถึง [อะนุสาสะนาจาน, อะนุสาดสะนาจาน] น. อาจารย์ผู้อบรมศีลธรรมของหน่วยราชการ.
  67. อนุศาสน์
    หมายถึง น. การสอน; คำชี้แจง. (ส.; ป. อนุสาสน).
  68. อนุศิษฏ์
    หมายถึง ก. สั่งสอน, ชี้แจง. (ส.; ป. อนุสิฏฺ).
  69. อนุสติ
    หมายถึง [อะนุดสะติ] น. ความระลึกถึง; ชื่อธรรมหมวดหนึ่ง เรียกว่า อนุสติ ๑๐ มีพุทธานุสติเป็นต้น. (ป. อนุสฺสติ).
  70. อนุสนธิ
    หมายถึง น. การต่อเนื่อง, การสืบเนื่อง. (ป.).
  71. อนุสภากาชาด
    หมายถึง (เลิก) น. ชื่อสมาคมสำหรับเด็กเพื่ออบรมตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ขึ้นต่อสภากาชาด.
  72. อนุสร
    หมายถึง [อะนุสอน] ก. ระลึก, คำนึงถึง. (ป. อนุสฺสร).
  73. อนุสรณ์
    หมายถึง น. เครื่องระลึก, ที่ระลึก. ก. ระลึก, คำนึงถึง. (ป. อนุสฺสรณ).
  74. อนุสัญญา
    หมายถึง น. ความตกลงระหว่างประเทศในเรื่องที่สำคัญเฉพาะเรื่อง ที่ทำเป็นตราสารสมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับสนธิสัญญา เช่น อนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยสงคราม อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยเชลยศึกและผู้บาดเจ็บ. (อ. convention).
  75. อนุสัย
    หมายถึง น. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).
  76. อนุสาวรีย์
    หมายถึง [อะนุสาวะรี] น. สิ่งที่สร้างไว้เป็นที่ระลึกถึงบุคคลหรือเหตุการณ์สำคัญเป็นต้น เช่น อาคาร หลุมฝังศพ รูปปั้น.
  77. อนุสาสนี
    หมายถึง [อะนุสาสะนี] น. คำสั่งสอน. (ป.; ส. อนุศาสนี).
  78. อนุสาสนีปาฏิหาริย์
    หมายถึง น. การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
  79. อนุเคราะห์
    หมายถึง ก. เอื้อเฟื้อ, ช่วยเหลือ. (ส. อนุคฺรห; ป. อนุคฺคห).
  80. อนุเถระ
    หมายถึง น. พระเถระชั้นผู้น้อย. (ป.).
  81. อนุโพธ
    หมายถึง [-โพด] น. การรู้แจ้งตาม. (ป., ส.).
  82. อนุโมทนา
    หมายถึง ก. ยินดีตาม, ยินดีด้วย, พลอยยินดี; เรียกคำให้ศีลให้พรของพระว่า คำอนุโมทนา. (ป., ส.).
  83. อนุโมทนาบัตร
    หมายถึง น. บัตรที่แสดงความพลอยยินดีหรืออนุโมทนาต่อบุญกุศลที่บุคคลนั้น ๆ ได้ทำแล้ว.
  84. อนุโยค
    หมายถึง ก. ซักถาม, ซักไซ้. ว. เรียกคำที่ผู้ถูกถามย้อนถามผู้ถามว่า คำอนุโยค. (ป., ส.).
  85. อนุโลม
    หมายถึง ก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลำดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลำดับ. (ป., ส.).
  86. อบ
    หมายถึง ก. ปรุงกลิ่นด้วยควันหรือรมด้วยกลิ่นในที่ที่ควันหรือกลิ่นกระจายออกไปไม่ได้; ทำให้ร้อนหรือสุกด้วยไอนํ้าหรือไอไฟในที่ที่ความร้อนออกไม่ได้; อากาศถ่ายเทไม่ได้.
  87. อบรม
    หมายถึง ก. แนะนำพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนำชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.
  88. อบอวล
    หมายถึง ก. ตลบ, ฟุ้ง, (ใช้แก่กลิ่น). ว. มีกลิ่นตลบ, มีกลิ่นฟุ้ง.
  89. อบอุ่น
    หมายถึง ว. อุ่นสบาย; โดยปริยายหมายความว่า ปราศจากความว้าเหว่.
  90. อบอ้าว
    หมายถึง ว. ร้อนไม่มีลม.
  91. อบาย,อบาย-
    หมายถึง [อะบาย, อะบายยะ-] น. ที่ที่ปราศจากความเจริญ; ความฉิบหาย. (ป.).
  92. อบายภูมิ
    หมายถึง [อะบายยะพูม] น. ภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายภูมิ และกำเนิดดิรัจฉาน. (ป., ส. อปาย).
  93. อบายมุข
    หมายถึง [อะบายยะมุก] น. ทางแห่งความฉิบหาย, เหตุแห่งความฉิบหาย, มี ๒ หมวด คือ อบายมุข ๔ ได้แก่ ๑. เป็นนักเลงหญิง ๒. เป็นนักเลงสุรา ๓. เป็นนักเลงเล่นการพนัน ๔. คบคนชั่วเป็นมิตร กับ อบายมุข ๖ ได้แก่ ๑. ดื่มนํ้าเมา ๒. เที่ยวกลางคืน ๓. เที่ยวดูการเล่น ๔. เล่นการพนัน ๕. คบคนชั่วเป็นมิตร ๖. เกียจคร้านทำการงาน. (ป.).
  94. อบเชย
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Cinnamomum วงศ์ Lauraceae ใช้ทำยาและปรุงนํ้าหอม เช่น อบเชยญวน หรือ ฝนแสนห่า (C. bejolghota Sweet), อบเชยจีน (C. aromaticum Nees), อบเชยเทศ (C. verum J. Presl).
  95. อป,อป-
    หมายถึง [อะปะ-] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
  96. อปการ
    หมายถึง [อะปะกาน] น. ความผิด, โทษ; การทำร้าย, การดูถูก. (ส.).
  97. อปจายน,อปจายน-
    หมายถึง [อะปะจายะนะ-] น. การแสดงความเคารพ, การนับถือ, การนอบน้อม. (ป., ส.).
  98. อปจายนธรรม
    หมายถึง น. การแสดงความเคารพ, การนับถือ, การนอบน้อม, การถ่อมตน. (ป. อปจายนธมฺม).
  99. อปจายนมัย
    หมายถึง ว. ที่สำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตัวต่อผู้ใหญ่ (ใช้แก่บุญ). (ป.).
  100. อปภาคย์,อัปภาคย์
    หมายถึง [อะปะพาก, อับปะพาก] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์. (ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด อ (หน้าที่ 3)"